ฤทธิ์ต้านการอักเสบของแผลในกระเพาะอาหารจากดอกดาหลา

การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเอทานอลจากดอกดาหลา (Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith) ในหนูแรท โดยแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นหนูปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ได้รับน้ำกระสายยา (arabic gum suspension 2%) (negative) กลุ่มที่ 3 ได้รับสาร quercetin (positive) ขนาด 20 มก./กก. กลุ่มที่ 4-6 ได้รับสารสกัดเอทานอลจากดอกดาหลาขนาด 500, 1,000, และ 2,000 มก./กก. ตามลำดับ หลังจากนั้น 2 ชม. หนูในกลุ่มที่ 2-6 จะที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยการฉีด acetic acid 1% (v/v) ขนาด 0.1 มล. เข้าทางช่องท้อง หลังจากนั้น 18 ชม. จึงทำการพิสูจน์ซากและวิเคราะห์ผลต่อกระเพาะอาหาร พบว่า หนูที่ได้รับสารสกัดเอทานอลจากดอกดาหลามีดัชนีการเกิดแผล (ulceration index) ลดลง โดยกลุ่มที่ 1-6 มีค่า ulceration index เท่ากับ 0.00, 0.67, 0.00, 0.33, 0.50, และ 0.83 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่า สารสกัดขนาดต่ำ (500มก./กก.) ให้ผลดีกว่าสารสกัดขนาดสูง และหนูที่ได้รับสารสกัดเอทานอลจากดอกดาหลามีการแทรกซึมของเซลล์ก่อการอักเสบ (infiltration of inflammatory cell) ลดลง โดยกลุ่มที่ 1-6 มีจำนวนของ infiltration of inflammatory cell เท่ากับ 3.2, 7.7, 5.6, 9.1, 7.1, และ 8.5 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่า สารสกัดขนาด 1,000 มก./กก.ให้ผลดีกว่าสารสกัดขนาด 500, และ 2,000 มก./กก. และการวิเคราะห์ด้วย Western blot พบว่าสารสกัดดอกดาหลาที่ขนาด1,000, และ 2,000 มก./กก. สามารถยับยั้งการแสดงออกของ NF-kappaB-p65 ได้ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ดอกดาหลามีฤทธิ์ต้านการอักเสบและอาจช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้

Pak J Biol Sci. 2020;23:1193-200. DOI: 10.3923/pjbs.2020.1193.1200