การศึกษาฤทธิ์ต้านการชักและต้านการอักเสบในสมองของสาร citral (ประกอบด้วย geranial และ neral) ซึ่งเป็นสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ (Cymbopogon citratus) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการชักต่อเนื่อง (status epilepticus) ด้วยวิธี lithiumpilocarpine model (หนูจะได้รับการฉีด lithium ขนาด 127 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง หลังจากนั้น 20 ชม. หนูจะได้รับการฉีด pilocarpine ขนาด 100 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง) โดยแบ่งหนูเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับ 1% Tween 80 (กลุ่มควบคุม), กลุ่มที่ 2 ได้รับ 1% Tween 80 และถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการชัก, กลุ่มที่ 3 ได้รับสาร citral 100 มก./กก. (ละลายใน 1%Tween 80) และถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการชัก, และกลุ่มที่ 4 ได้รับสาร citral 200 มก./กก. (ละลายใน 1%Tween 80) และถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการชัก ซึ่งหนูจะได้รับสารทดสอบโดยการฉีดเข้าทางช่องท้อง 30 นาทีก่อนฉีด pilocarpine จากนั่นจึงทำการประเมินระยะของการเกิดอาการชัก (seizure development), การตายของเซลล์ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (neuronal death in the hippocampus), การแสดงออกของ BDNF (expression of the brain-derived neurotrophic factor; BDNF), tumor necrosis factor-alpha (TNF-α), interleukin 6 (IL-6), IL-1β, และ nuclear factor kappa B (NF-κB) ด้วย reverse transcription PCR (RT-qPCR) พบว่า สาร citral ทำให้ระยะเวลาก่อนเกิดอาการชักครั้งแรก (latency 1st seizure) ยาวนานขึ้น การตายของเซลล์ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่เวลา 2 ชม. หลังการเกิดอาการชักมีจำนวนลดลง และทำให้การแสดงออกของสารก่อการอักเสบต่าง ๆ ลดลง ซึ่งผลการทดสอบส่วนใหญ่พบว่าสาร citral ขนาด 200 มก./กก. ให้ผลดีกว่าสาร citral ขนาด 100 มก./กก. อย่างไรก็ตามสาร citral ขนาด 100 มก./กก. สามารถยับยั้งการแสดงออกของ BDNF และ TNF-α ได้ดีกว่าสาร citral ขนาด 200 มก./กก. จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สาร citral มีฤทธิ์ต้านการชักและต้านการอักเสบในสมองจากการเหนี่ยวนำด้วย lithiumpilocarpine model
J Med Food. 2021;00(0):19. doi: 10.1089/jmf.2020.0073.