การทดสอบฤทธิ์บรรเทาความผิดของระบบประสาทซึ่งเกิดจากภาวะเบาหวานของตำรับยาตรีผลา* ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีด streptozotocin เข้าทางช่องท้องในขนาด 55 มก./กก. หลังจากนั้น 6 สัปดาห์ แบ่งหนูเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุมเป็นเบาหวาน) ได้รับการป้อนน้ำกระสายยา (0.5% w/v carboxymethyl cellulose solution) กลุ่มที่ 2-4 ได้รับการป้อนตำรับยาตรีผลาขนาด 250, 500, และ1,000 มก./กก. ตามลำดับ และกลุ่มที่ 5 เป็นหนูปกติ (กลุ่มควบคุมไม่เป็นเบาหวาน) ได้รับการป้อนน้ำกระสายยา โดยจะป้อนสารทดสอบให้แก่หนูวันละครั้ง นาน 28 วัน ทำการวิเคราะห์น้ำหนักตัว ระดับน้ำตาลในเลือด และค่าความเร็วชักนำของประสาทสั่งการ (motor nerve conduction velocity) และทำการวิเคราะห์การตอบสนองของระบบประสาทด้วย Eddys hot plate test (thermal hyperalgesia), tail immersion test (nociceptive threshold), Randall-Selitto test (mechanical hyperalgesia), และ Von Frey test (mechanical allodynia)นอกจากนี้ยังตรวจสอบของระดับสารก่อการอักเสบได้แก่ transforming growth factor-β1 (TGF-β1), tumor necrosis factor-α (TNF-α), และinterleukin-1β (IL-1β) ด้วย ELISA assayศึกษาเนื้อเยื่อประสาทsciatic nerveและตรวจสอบการทำงานของneuronal growth factor(NGF) ด้วยWestern blotting จากผลการทดลองพบว่า ตำรับยาตรีผลาทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ช่วยให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ค่าความเร็วชักนำของประสาทสั่งการเพิ่มขึ้น และการตอบสนองของระบบประสาทไวขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ระดับTGF-β1, TNF-α, และ IL-1βในเลือดลดลง ผลการศึกษาเนื้อเยื่อประสาทพบว่า ตำรับยาตรีผลามีฤทธิ์ปกป้องสมอง และทำให้การแสดงออกของNGFใน sciatic nerve เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เป็นเบาหวาน โดยประสิทธิภาพทั้งหมดจะขึ้นกับขนาดที่ให้ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ตำรับยาตรีผลามีฤทธิ์บรรเทาความผิดของระบบประสาทจากภาวะเบาหวานในสัตว์ทดลองได้
* ตำรับยาตรีผลาประกอบด้วยส่วนผลของสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ มะขามป้อม (Emblica officinalis L.), สมอพิเภก (Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.), และสมอไทย (Terminalia chebula Retz.) ในอัตราส่วนเท่ากัน