ฤทธิ์ต้านความอ้วนของสารสกัดจากกิ่งต้นหม่อน

การศึกษาฤทธิ์ต้านความอ้วนของสารสกัด 80% เอทานอลจากกิ่งต้นหม่อน (Morus alba L.) การศึกษานี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การทดสอบในหลอดทดลองถึงผลของสารสกัดจากต้นหม่อนต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนในเซลล์ตั้งต้นของเซลล์ไขมัน (differentiated 3T3-L1 adipocyte cells) พบว่าสารสกัด 80% เอทานอลจากกิ่งต้นหม่อน ความเข้มข้น 10, 20 และ 40 มคก./มล. มีผลลดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์ไขมัน (adipogenesis) และการสร้างไขมันภายในเซลล์ (lipogenesis) ได้แก่ peroxisome proliferator-activated receptorγ, CCAAT/enhancer-binding protein-α, sterol regulatory element-binding protein-1,acetyl-CoA carboxylase, fatty acid synthase และ stearoyl-CoA desaturase-1 ได้ตามขนาดของความเข้มข้นที่ได้รับ และให้ผลเพิ่มแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกระบวนการสลายไขมัน (lipolysis) ได้แก่ adipose tissue triglyceride lipase และ hormone-sensitive lipase อย่างมีนัยสำคัญ และการทดสอบที่ 2 ทำการทดสอบในสัตว์ทดลองที่มีภาวะอ้วน โดยป้อนสารสกัด 80% เอทานอลจากกิ่งต้นหม่อน ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักตัว ให้แก่หนูเม้าส์ร่วมกับการป้อนอาหารไขมันสูง เป็นเวลา 7 สัปดาห์ พบว่าสามารถลดน้ำหนักตัว น้ำหนักตับ และน้ำหนักเนื้อเยื่อไขมันในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีผลลดระดับไขมันในเลือดและไขมันสะสมในตับของสัตว์ทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ผลจากการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากต้นหม่อนลดการแสดองออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์ไขมัน และเพิ่มระดับโปรตีนที่เกี่ยวข้องในการะบวนการสลายไขมันได้เช่นเดียวกับผลการทดสอบในหลอดทดลอง การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากกิ่งต้นหม่อนมีศักยภาพในการลดความอ้วน และอาจนำไปพัฒนาศึกษาต่อไปในอนาคต

J Ethnopharmacol. 2020;251:112542.