ฤทธิ์แก้ปวดและต้านอักเสบของใบตะลิงปลิง

ศึกษาฤทธิ์แก้ปวดของสารสกัดเมทานอลจากใบตะลิงปลิง (Averrhoa bilimbi L.) โดยทำการป้อนสารสกัดดังกล่าวให้แก่หนูเม้าส์ขนาด 200 และ 400 มก./กก. 30 นาที ก่อนฉีดกรดอะซิติกเข้าช่องท้องเพื่อให้เกิดอาการเจ็บปวดและสังเกตการหดตัวของช่องท้อง เปรียบเทียบกับการป้อนยาแก้ปวด diclofenac sodium (ขนาด 10 มก./กก.) และทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยการป้อนสารสกัดเมทานอลจากใบตะลิงปลิงให้แก่หนูเม้าส์ขนาด 200 และ 400 มก./กก. 1 ชั่วโมง ก่อนเหนี่ยวนำให้หนูให้เกิดภาวะอักเสบและบวมที่อุ้งเท้าด้วยการฉีด carrageenan เปรียบเทียบกับการป้อนยาแก้อักเสบ ibuprofen (ขนาด 10 มก./กก.) ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดเมทานอลจากใบตะลิงปลิงมีผลลดอาการหดเกร็งของช่องท้องลง โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ใช้ และคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 61.14, 67.51% สำหรับสารสกัดเมทานอลจากใบตะลิงปลิงเข้มข้น 200 และ 400 มก./กก. ตามลำดับ ในขณะที่การป้อนยาแก้ปวด diclofenac sodium มีเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 64.33% และผลการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบพบว่า สารสกัดเมทานอลจากใบตะลิงปลิงทั้ง 2 ขนาด สามารถยับยั้งอาการบวมของอุ้งเท้าหนู โดยสามารถคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการอักเสบหลังจากฉีด carrageenan 4 ชม. ได้เท่ากับ 54.97 และ 62.25% สำหรับสารสกัดเมทานอลจากใบตะลิงปลิงเข้มข้น 200 และ 400 มก./กก. ตามลำดับ ในขณะที่การป้อนยาแก้อักเสบ ibuprofen มีเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 74.17% ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารสกัดเมทานอลจากใบตะลิงปลิงมีฤทธิ์แก้ปวดและต้านอักเสบได้

Discovery Phytomed. 2019;6(1):12-5.