ผลของการได้รับแป้งจากเมล็ดองุ่นร่วมกับแบคทีเรียจากคีเฟอร์ต่อลักษณะจุลินทรีย์ในลำไส้

การศึกษาลักษณะจุลินทรีย์ในลำไส้ (intestinal microbiota) จากอุจจาระของหนูเม้าส์ที่ได้รับผลิตภัณฑ์ประเภทซินไบโอติก (synbiotics) ที่ประกอบด้วยแป้งซึ่งอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์จากเมล็ดองุ่น (flavonoid rich wine grape seed flour; WGF) กับ Lactobacillus kefiri DH5 (LKDH5) ซึ่งเป็นแบคทีเรียกรดแลคติกที่แยกได้จากคีเฟอร์ (kefir lactic acid bacteria; LAB) โดยแบ่งหนูเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารไขมันสูง (กลุ่มควบคุม), กลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารไขมันสูงที่มี WGF 10%, กลุ่มที่ 3 ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับ LAB, และกลุ่มที่ 4 ได้รับอาหารไขมันสูงที่มี WGF 10% ร่วมกับ LAB ทำการศึกษานาน 9 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้ WGF ร่วมกับ LAB มีจำนวนแบคทีเรียชนิด Akkermansia muciniphila และ Nocardia coeliaca เพิ่มขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับการลดลงของน้ำหนักตัวและน้ำหนักของเนื้อเยื่อไขมัน และการให้ WGF ร่วมกับ LAB จะมีประสิทธิภาพดีกว่าการให้ WGF หรือ LAB เพียงอย่างเดียว แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ประเภทซินไบโอติกที่ประกอบด้วย WGF และ LAB อาจช่วยลดน้ำหนักและช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ที่มีภาวะอ้วนจากการได้รับอาหารที่มีไขมันสูงได้

J Agric Food Chem. DOI: 10.1021/acs.jafc.0c01240