การศึกษาทางคลินิกผลของการรับประทานอัลมอนต์กับการสร้างน้ำมันบริเวณผิวหนังและริ้วรอยบนใบหน้า

การศึกษาทางคลินิก (prospective, investigator-blinded, randomized controlled trial) ผลของการรับประทานอัลมอนต์ (Prunus dulcis; almond) กับการสร้างน้ำมันบริเวณผิวหนังและริ้วรอยบนใบหน้าในอาสาสมัครเพศหญิงวัยหลังหมดประจำเดือนที่มีสีผิวประเภท Fitzpatrick skin types 1 และ 2 ที่มีคุณสมบัติผ่านการทดสอบ 28 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่จะได้รับประทานอัลมอนด์เป็น 20% ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่จะได้รับพลังงานจากการรับประทานขนมขบเคี้ยว -เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ วัดผลการทดสอบด้วยการประเมินริ้วรอยบนใบหน้าด้วยเครื่องมือมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์ลักษณะผิวหนังด้วยการถ่ายภาพ รวมทั้งการวัดค่าการสูญเสียน้ำทางผิวหนัง (transepidermal water loss) และการสร้างน้ำมันจากต่อมไขมันบริเวณผิวหน้า ในช่วงสัปดาห์ที่ 0, 8 และ 16 ของการทดสอบ ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่ได้รับประทานอัลมอนต์มีผลทำให้ความรุนแรงของการเกิดริ้วรอยลดลงเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่สัปดาห์ที่ 16 ของการทดสอบ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของผิวหนังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการวัดค่าการสูญเสียน้ำทางผิวหนังระหว่างกลุ่มที่ได้รับประทานอัลมอนต์และกลุ่มควบคุมช่วงสัปดาห์ที่ 16 ใกล้เคียงกับช่วงเริ่มการทดสอบ และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ใด ๆ ในอาสาสมัคร จากผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการรับประทานอัลมอนต์มีผลลดความรุนแรงของริ้วรอยบนใบหน้าในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนได้

Phytother Res. 2019;33(12):3212-7.