การศึกษาทางคลินิกผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและผลต่อตัวชี้วัดการอักเสบของสารแอนโทไซยานินจากมันม่วง

การศึกษาทางคลินิก (randomized cross-over trial) ในอาสาสมัครเพศชายสุขภาพดีจำนวน 17 คน ให้รับประทานมันเหลือง (Solanum tuberosum L. ‘Afra’) ร่วมกับสารสกัดด้วยน้ำ/เอทานอล/กรดอะซีติกจากมันม่วง (S. tuberosum L. ‘Synkeä Sakari’) ที่มีสารอะซีเลท-แอนโทไซยานิน (acylated anthocyanins) 152 มก. และสารประกอบฟีนอลิก (phenolics) อื่น ๆ 140 มก. เปรียบเทียบกับการรับประทานมันเหลืองเพียงอย่างเดียว แล้วสลับการรักษา ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดมันม่วงมีผลลดการเพิ่มขึ้นของค่า AUC ของกลูโคส (p = 0.019) และอินซูลิน (p = 0.015) ในช่วง 120 นาที หลังรับประทานอาหาร ระดับกลูโคสที่เวลา 20 นาที (p = 0.015) และ 40 นาที (p = 0.004) และระดับอินซูลินที่เวลา 20 นาที (p = 0.003), 40 นาที (p = 0.004) และ 60 นาที (p=0.005) หลังรับประทานอาหารลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีผลเพิ่มระดับตัวชี้วัดการอักเสบ insulin-like hormone FGF-19 หลังรับประทานอาหารที่ 240 นาที จากผลการทดสอบสรุปได้ว่าสารสกัดมันม่วงมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ระดับอินซูลินในเลือด และตัวชี้วัดการอักเสบหลังรับประทานอาหาร อย่างไรก็ตามการทดสอบนี้เป็นเพียงการประเมินผลของมันม่วงต่อค่าต่าง ๆ แบบเฉียบพลัน หลังการรับประทานอาหารเพียงมื้อเดียว ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลในระยะยาวต่อไป

Food Chem. 2020;310:125797. doi:10.1016/j.foodchem.2019.125797