ฤทธิ์ปกป้องเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของใบหม่อน

การศึกษาฤทธิ์ของใบหม่อน (Morus alba L.) ต่อมวลของเบต้าเซลล์ในตับอ่อน (pancreatic β-cell mass) ของหนูเม้าส์เบาหวาน (obese/type 2 diabetes mellitus mouse) ในการศึกษาแบ่งสัตว์ทดลองเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (ป้อนด้วยอาหารปกติ) และกลุ่มทดลองที่ป้อนอาหารที่มีส่วนผสมของใบหม่อนแห้ง 5% โดยน้ำหนัก โดยเริ่มป้อนที่อายุ 7 สัปดาห์ไปจนถึง 10, 15 และ 20 สัปดาห์ ตามลำดับ จากนั้นทำการประเมินความทนต่อน้ำตาลของสัตว์ทดลองเมี่ออายุครบ 10, 15 และ 20 สัปดาห์ พบว่าระดับน้ำตาลในหนูแรทที่อายุ 10 สัปดาห์มีค่าลดลง แต่ไม่พบผลการเปลี่ยนแปลงเมื่อป้อนต่อเนื่องจนครบอายุ 15 และ 20 สัปดาห์ ผลการทดสอบวิธีอิมมูโนพยาธิวิทยา พบว่าใบหม่อนคงความสามารถการทำงานของเบต้าเซลล์ ลดความเครียดของ endoplasmic reticulum ในตับอ่อน ยับยั้งการตายแบบ apoptosis ของเบต้าเซลล์ นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่มมวลของเบต้าเซลล์ โดยกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเบต้าเซลล์และการแสดงออกของโปรตีน pancreatic duodenal homeobox1 mRNA ซึ่งบ่งชี้ถึงการสร้างเซลล์ตับอ่อนที่เพิ่มสูงขึ้น จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าใบหม่อนสามารถควบคุมระดับอินซูลินและมวลของเบต้าเซลล์ในตับอ่อน โดยยับยั้งความเครียดใน endoplasmic reticulum ของหนูเม้าส์ที่มีภาวะเบาหวาน

BMC Complement Altern Med 2020;20:136