การศึกษาผลของเคพกูสเบอร์รี (Physalis peruviana L.; cape gooseberry) ต่อการทำงานของอินซูลินในการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อลายและผลต่อการป้องกันการอักเสบและการเกิด lipoperoxidation ของตับในหนูเม้าส์ C57BL/6J เพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วน โดยแบ่งสัตว์ทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมที่จะได้รับอาหารประกอบด้วยไขมัน 10% โปรตีน 20% และคาร์โบไฮเดรต 70% กลุ่มทดสอบที่จะได้รับอาหารร่วมกับเคพกูสเบอร์รีสดขนาด 300 มก./กก./วัน กลุ่มที่จะได้รับอาหารไขมันสูง 60% โปรตีน 20% และคาร์โบไฮเดรต 20% และกลุ่มที่จะได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับเคพกูสเบอร์รี โดยให้อาหารเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดสอบพบว่าเคพกูสเบอร์รีมีผลลดระดับ lipoperoxidation ภายในเซลล์ตับ ลดขนาดของหยดไขมัน (lipid droplets) ในเซลล์ตับและเส้นใยกล้ามเนื้อเรียบ และมีผลกระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อลาย จากผลการทดสอบครั้งนี้สรุปได้ว่าการป้อนเคพกูสเบอร์รีสดขนาด 300 มก./กก./วัน มีผลป้องกัน lipoperoxidation ของตับและการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้หนูเม้าส์ที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนได้
Nutrients. 2020;12(3):700. doi:10.3390/nu12030700