ฤทธิ์ของสารสกัดรากสามสิบต่อระดับไขมันในซีรัม การเกิด lipid peroxidation และการสร้างเอนไซม์ superoxide dismutase ในหนูที่ถูกตัดรังไข่

การศึกษาในหนูแรทที่ถูกตัดรังไข่ (Ovariectomized rat) โดยให้สารสกัดน้ำ หรือสารสกัดเอทานอลจากรากของต้นรากสามสิบ (Asparagus racemosus) ในขนาด 500 มก./กก. เป็นเวลานาน 5 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับสาร 17α-ethynylestradiol ขนาด 0.1 มก./กก. และหนูกลุ่มควบคุม พบว่าระดับของคอเลสเตอรอลรวมและระดับไขมันชนิด LDL ในซีรัมในทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน หนูที่ได้รับสารสกัดเอทา-นอลจากรากสามสิบ มีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในซีรัมลดลง เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ถูกตัดรังไข่ แต่พบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ของหนูที่ได้รับสารสกัดทั้งสองชนิด ไม่แตกต่างไปจากหนูกลุ่มควบคุมที่ถูกตัดรังไข่ และยังพบว่าระดับของไขมันชนิด HDL ในซีรัมของหนูกลุ่มที่ให้สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากรากสามสิบจะต่ำกว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสาร 17α-ethynylestradiol นอกจากนี้ทั้งสารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากรากสามสิบ สามารถลดการเกิด lipid peroxidation โดยมีผลลดระดับของ malondialdehyde (MDA) ในตับ และยังพบว่าสารสกัดน้ำจากรากสามสิบมีผลเพิ่มระดับของเอนไซม์ superoxide dismutase ในตับ ดังนั้นสรุปได้ว่าสารสกัดจากรากสามสิบ ขนาด 500 มก./กก. มีผลเล็กน้อยต่อระดับไขมันในซีรัมของหนูที่ถูกตัดรังไข่ แต่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ โดยไปลดระดับของ MDA และเพิ่มระดับเอนไซม์ superoxide dismutase ในตับ

Pharmacogn J 2018;10(5):1036-41.