ฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผมจากตังกุย

การศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นขนจากสารสกัด 70%เอทานอลของรากตังกุยหรือโกฐเชียง (Angelica sinensis ) ในหนูเม้าส์ C57BL/6 ที่กำจัดขนออก โดยการทาสารสกัดขนาด 1 และ 100 มก./มล. บริเวณหลังของหนูเม้าส์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลกับการทายาหลอก พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดมีขนขึ้นใหม่ (hair regrowth) อย่างชัดเจน โดยสารสกัดทำให้ความยาวของเส้นขนส่วนที่สามารถเห็นได้บนผิวหนัง (hair shaft) และขนาดของต่อมผม (hair follicles) มีค่าใกล้เคียงกับค่าปกติ การศึกษาในระดับเนื้อเยื่อของผิวหนังพบว่าเซลล์หนูที่ได้รับสารสกัดมีจำนวนของเซลล์ keratinocyte ที่ตายจากกระบวนการ apoptosis ลงลดอย่างชัดเจน นอกจากนี้ตังกุยยังยับยั้งกระบวนการ nuclear translocation ของ NF-&kapps;B, กระบวนการ phosphorylation ของ I-&kapps;B-α และกระบวนการ phosphorylation ของ mitogen-activated protein MAP kinases นอกจากนี้ยังยับยั้งการกระตุ้น c-Jun รวมทั้งทำให้สาร TNF-α ลดลง แสดงให้เห็นว่า ตังกุยสามารถบรรเทาอาการผมร่วงได้ โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ผ่าน hair cycle pathways ร่วมกับการยับยั้งกระบวนการ apoptosis ของเซลล์ขนในระยะ catagen (catagen phase เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลง (transitional phase) ต่อมผมจะเลื่อนสูงขึ้น สีเริ่มจางลง แยกตัวจากเส้นเลือดที่มาเลี้ยง ใช้เวลาในระยะนี้ประมาณ 10 วัน หรือ 2 - 3 สัปดาห์)

The American Journal of Chinese Medicine 2014;42(4):1021 - 34