ฤทธิ์แก้ปวดของสารไกลโคโปรตีนจากโสม

การศึกษาฤทธิ์แก้ปวดของสารไกลโคโปรตีน (glycoproteins) ที่แยกได้จากรากโสม ได้แก่ PGG, PGG1, PGG2 และ PGG3 ในหนูเม้าส์ด้วยวิธีที่เหนี่ยวนำให้เกิดอาการปวดด้วยกรดอะซิติก (acetic acid writhing test) และแผ่นความร้อน (hot-plate tests) ในวิธีที่เหนี่ยวนำด้วยกรดอะซิติก เมื่อฉีดสาร PGG ขนาด 10 20 และ 40 มก./กก. PGG1 และ PGG2 ขนาด 20 มก./กก. และ PGG3 ขนาด 10 และ 20 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู พบว่า PGG, PGG2 และ PGG3 จะมีผลลดอาการปวดได้ โดย PGG3 ที่ขนาด 20 มก./กก. จะให้ผลลดอาการปวดได้ดีที่สุด (92.19%) และดีกว่าแอสไพริน ขนาด 100 มก./กก. (44.44%) ขณะที่ PGG1 ไม่มีผล สำหรับวิธีการทดสอบด้วยแผ่นความร้อน เมื่อฉีดสาร PGG ขนาด 40 มก./กก. และ PGG3 ขนาด 10 และ 20 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู พบว่า PGG3 ที่ขนาด 20 มก./กก. มีผลลดอาการปวดได้ โดยเพิ่มระยะเวลาความทนต่อความร้อนได้มากขึ้น แต่มีฤทธิ์น้อยกว่ามอร์ฟีน ขนาด 10 มก./กก. นอกจากนี้ยังพบว่า PGG3 ที่ขนาด 20 และ 40 มก./กก. มีผลลดการเคลื่อนไหว (locomotion) ของหนู สรุปว่าสารไกลโปรตีนในรากโสมมีฤทธิ์แก้ปวดได้

J Ethnopharmacol 2013;148:946–50.