ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acethylcholinesterase และฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของกุหลาบมอญ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดสอบฤทธิ์ป้องกันการทำงานของระบบประสาทจากน้ำมันและสารที่มีกลิ่นหอมที่สกัดได้จากกุหลาบมอญโดยทำการทดสอบในหลอดทดลองและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acetylcholinesterase (AChE) และ butyrylcholinesterase (BChE) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาท acetylcholine และทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นโดยการวัดปฏิกิริยาต้านออกซิเดชั่นต่างๆได้แก่ DPPH radical scavenging, metal-chelation (การวัดการจับกับโลหะเพื่อต้านการเกิดออกซิเดชั่น) และ ferric-reducing antioxidant power (FRAP) assays (การทดสอบความสามารถของสารในการจับอนุมูลอิสระโดยใช้ ascorbic acid) และวัดระดับสารประกอบสำคัญด้วยเทคนิค Gas Chromatography-Mass Spectrometry (GC-MS) จากผลการทดสอบพบสารต่างๆในกุหลาบมอญได้แก่ citronellol, geraniol, nerol, และ phenylethyl alcohol มีฤทธิ์ยับยั้ง AChE (60.86 ± 1.99%) และ BChE (51.08 ± 1.70%) ที่ 1000 มคก./มล. โดยพบว่า phenylethyl alcohol มีฤทธิ์ยับยั้ง AChE ได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับสารอื่น สำหรับการทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นพบว่า มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นในระดับต่ำสำหรับการทดสอบด้วย DPPH radical scavenging และ FRAP และไม่พบสารใดเกิด metal-chelation effect
     phenylethyl alcohol ยับยั้ง AChE ได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับสารอื่น และจากการทดสอบ phenylethyl alcohol เพิ่มเติมด้วย molecular docking simulation ซึ่งเป็นเทคนิคคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบโมเลกุลเพื่อหาตำแหน่งและรูปร่างโมเลกุลของการจับตัวกันของ 2 โมเลกุลพบว่า phenylethyl alcohol จับกับ BChE ได้ดีกว่า AChE

Food Research International 2013;53:502-509