ฤทธิ์ต้านการอักเสบจากพุทธรักษา

การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัด 80% เอทานอลจากรากของพุทธรักษา (Canna indica  L.) (CIE) ในเซลล์ macrophages ชนิด RAW 264.7 ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยสารlipopolysaccharide (LPS) โดยให้สารสกัดในขนาด 10, 50, 100 หรือ 500 มคก./มล. พบว่า CIE สามารถยับยั้งการสร้าง nitric oxide, prostaglandin E2 และ interleukin-1β ได้ เช่นเดียวกับการทดสอบในเซลล์ monocytes ชนิด U937 ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยการให้น้ำตาลกลูโคสในขนาดสูง โดยให้สารสกัดในขนาด 5, 10 หรือ 25 มคก./มล. พบว่า CIE สามารถยับยั้งการแสดงออกของ interleukin-8 และ monocyte chemoattractant protein-1 นอกจากนี้ยังยับยั้งกระบวนการ phosphorylation ของ mitogen-activatedproteinkinase (MAPK), ERK1/2 และ JNK ได้ โดยประสิทธิภาพทั้งหมดจะขึ้นกับขนาดของสารสกัดที่ให้ ทำให้สามารถสรุปได้ว่าสารสกัด 80% เอทานอลจากรากของพุทธรักษา มีฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยกลไกยับยั้งการสร้างสารก่อการอักเสบจากการเหนี่ยวนำด้วย LPS และยับยั้งการแสดงออกของสารก่อการอักเสบจากการเหนี่ยวนำด้วยน้ำตาลกลูโคสขนาดสูง ผ่านทาง MAPK pathway

J Ethnopharmacol 2013;148:317–21