สนหางสิงห์ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการแพทย์แผนจีนโดยใช้เป็นยาบำรุงและใช้เป็นยาระงับประสาท การศึกษาครั้งนี้เพื่อที่จะประเมินฤทธิ์การยืดอายุของการมีชีวิตให้นานขึ้นจากสารสกัด n-butanol จากเมล็ดของสนหางสิงห์โดยทำการทดลองในหนอนนีมาโทดา C. elegans เพื่อให้ทราบถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและนำไปใช้ในการรักษาทางการแพทย์แผนโบราณต่อไป โดยทำการศึกษาการยืดอายุของหนอน C. elegans ในสภาวะปกติและสภาวะที่เกิดความเครียด (โดยการให้ Juglone ซึ่งก่อให้เกิด oxidative stress ในเซลล์) ทดสอบฤทธิ์ชะลอความแก่(จากการประเมิณ age pigment รงควัตถุที่เกิดจากความเสื่อมของไขมัน Lipofuscin) และผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการทนต่อความเครียดที่เปลี่ยนไป ของสารสกัดจากสนหางสิงห์ ผลการทดลองพบว่าสนหางสิงห์สามารถช่วยยืดอายุการมีชีวิตอยู่ของหนอนได้ โดยไม่ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารทั้งในสภาวะปกติและสภาวะที่มีความเครียด นอกจากนี้ยังพบว่าสนหางสิงห์มีฤทธิ์ลดอนุมูลอิสระและช่วยควบคุมการเพิ่มโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการทนต่อสภาวะเครียดมากขึ้นได้แก่ glutathioneS-transferase-4(GST-4)และ heat shock protein-16.2(HSP-16.2) และมีฤทธิ์ลดรงควัตถุที่เกิดจากความเสื่อมของไขมัน Lipofuscin ในหนอน C. elegans จึงสรุปได้ว่าสารสกัด n-butanol จากเมล็ดของสนหางสิงห์มีฤทธิ์ช่วยยืดอายุของการมีชีวิตโดยการทำลายอนุมูลอิสระ ลดปริมาณของ Lipofuscin และเพิ่มความสามารถในการทนต่อสภาวะความเครียด จึงเป็นผลการทดสอบที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์ในการศึกษาเกี่ยวกับยาบำรุงร่างกายต่อไป