ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการทำลายโครโมโซมของขิงในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคเบาหวาน โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 12 ตัว กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 3 และ 4 เลี้ยงด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของขิงผง 0.5% 1% และ 5% ตามลำดับ เมื่อเลี้ยงครบ 1 เดือน ทำการฉีดสาร streptozotocin (STZ) เข้าทางช่องท้องหนูขนาด 30 มก./กก. และเลี้ยงต่อไปอีก 4 สัปดาห์ จากนั้นทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากหนูทุกกลุ่มเพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการต้านการเกิดภาวะออกซิเดชั่น และวิเคราะห์ความเสียหายของดีเอ็นเอด้วยเทคนิค Comet assay และ bone marrow micronucleus test ผลจากการทดลองพบว่า หนูแรทที่ได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของขิงผงมีค่าเอนไซม์ Catalase Superoxide dismutase (SOD) และ Glutathone peroxidase (GSHPx) เพิ่มขึ้น และมีผลลด Malondialdehyde (MDA) เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม ทั้งช่วงก่อนและหลังฉีดสาร STZ นอกจากนี้ ผลจากการวิเคราะห์ความเสียหายของดีเอ็นเอพบว่า ค่าความเสียหายของดีเอ็นเอในหนูแรทกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของขิงผงมีค่าลดลงตามปริมาณความเข้มข้นของขิงผงในอาหารที่เพิ่มมากขึ้น ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่า ขิงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการเกิดความเสียหายของดีเอ็นเอในภาวะที่เป็นโรคเบาหวานได้
Food Chem. 2012 15; 135(4):2954-9.