การทดสอบฤทธิ์ต้านความเครียดของสารสำคัญในกะเพรา (Ocimum sanctum L.) คือ ocimarin, ocimumoside A และ ocimumoside B ในหนูแรท จากการกระตุ้นด้วย chronic unpredictable stress (CUS) model เป็นเวลา 7 วันซึ่งมีผลทำให้ monoaminergic และ antioxidant systems ในสมองส่วน frontal cortex, striatum และ hippocampus เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยทำให้ dopamine, noradrenaline, serotonin และ glutathione ลดลง ทำให้ระดับเอนไซม์ superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase และการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน (lipid peroxidation) รวมทั้งระดับของ corticosterone ในเลือดสูงขึ้น พบว่าหนูที่ถูกป้อนด้วยสาร ocimumoside A และ B ขนาด 40 มก./กก. ก่อนถูกทำให้เกิดภาวะเครียด จะมีระดับของ corticosterone เป็นปกติ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจาก CUS ลดลง ซึ่งเทียบเท่ากับการที่หนูได้รับสารต้านความเครียดมาตรฐาน (ป้อนด้วย Panax quinquefolium 100 มก./กก.) และสารต้านอนูมูลอิสระมาตรฐาน (ฉีด melatonin ขนาด 20 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง) ในขณะที่สาร ocimarin ไม่ให้ผลดังกล่าว ทำให้สามารถสรุปได้ว่า สาร ocimumoside A และ B มีฤทธิ์ต้านภาวะเครียด โดยมีผลต่อสาร monoamines ในสมอง และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
Phytomedicine 2012;19(7):639-47