ศึกษาผลของการรับประทานสารสกัด stevioside จากหญ้าหวานต่อการฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่ได้รับการเหนี่ยวนำให้เกิดอาการบาดเจ็บ โดยทำการทดลองในหนูแรทเพศผู้ ด้วยการป้อนสารสกัด stevioside ขนาด 10 มก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลา 7 วัน ก่อนกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อโดยการฉีด cardiotoxin เข้าที่บริเวณกล้ามน่องส่วนหน้า (tibialis anterior muscle) ของขาขวาด้านหลัง (right hindlimb) ป้อนสารสกัด stevioside ให้หนูต่อไปอีก 7 วัน ทำการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อในวันที่ 3 และ 7 หลังกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ โดยสังเกตลักษณะของกล้ามเนื้อด้วยวิธีการตัดและย้อมเนื้อเยื่อด้วย hematoxylin และ eosin บนแผ่นสไลด์ และตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ inverse electron microscope วิเคราะห์ MyoD และ p-NFκB-positive nuclei โดยการย้อมเนื้อเยื่อบนสไลด์ด้วยแอนติบอดีที่จำเพาะ และตรวจดูภายใต้กล้อง confocal microscope และวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีน myofibrillar ด้วยวิธี Lowry method ผลการทดลองพบว่า หนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัด stevioside มีปริมาณโปรตีน myofibrillar เพิ่มขึ้น และลดบริเวณกล้ามเนื้อที่ถูกทำลายเมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด แต่ความแตกต่างดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญในทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัด stevioside มีจำนวน MyoD-positive nuclei เพิ่มขึ้น และ NFκB-positive nuclei ลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารสกัด stevioside อาจมีผลช่วยในการช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่ถูกทำลายโดยผ่านการยับยั้งกระบวนการ NFκB signal pathway ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดการอักเสบ
J Agric Food Chem. 2012; 60(11): 2844-51