ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการสะสมไขมันในตับของปัญจขันธ์

ศึกษาผลของสารสกัดเอทานอลปัญจขันธ์ต่อเซลล์ตับ ในสภาวะที่มีความเข้มข้นของกลูโคส อินซูลิน และกรดไขมันในระดับสูง โดยทำการคัดแยกเซลล์ตับจากหนูแรทมาเลี้ยงในจานเพาะที่มีอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ประกอบไปด้วยกลูโคสและอินซูลินเข้มข้น (10mM glucose และ 10-7 M insulin) จากนั้นแยกเซลล์ที่เลี้ยงออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่มที่ 1 เติมสารสกัดเอทานอลปัญจขันธ์ปริมาณ 100 200 และ 300 µ/ml กลุ่มที่ 2 เติมสารสกัดเอทานอลปัญจขันธ์ และกรดไขมันอิ่มตัว palmitate ปริมาณ 100 µM และกลุ่มที่ 3 เติมสกัดเอทานอลปัญจขันธ์ และกรดไขมันไม่อิ่มตัว linoleic acid ปริมาณ 100 µM เซลล์ทุกกลุ่มเลี้ยงภายใต้สภาวะสุญญากาศ ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส (ปริมาณความเข้มเข้นไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 17% และคาร์บอนไดออกไซด์ 5%) เมื่อครบ 48 ชั่วโมง นำเซลล์ทุกกลุ่มมาวัดหาอัตราการรอดของเซลล์ วัดปริมาณไขมัน โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ Nitric oxide ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอลปัญจขันธ์ไม่มีผลต่อการอยู่รอดของเซลล์ตับที่ถูกเลี้ยงในสภาวะที่ความเข้มข้นของกลูโคสและอินซูลินสูง แต่มีผลป้องกันการลดอัตราการอยู่รอดของเซลล์ที่เป็นผลมาจากการเติมกรดไขมันทั้งชนิดอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว และมีผลยับยั้งการเพิ่มของปริมาณไขมัน โคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ เนื่องจากการเลี้ยงในสภาวะที่มีความเข้มข้นของกลูโคส อินซูลิน และกรดไขมันในระดับสูง นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่มระดับ nitric oxide และต้านการเกิดออกซิเดชั่นอีกด้วย ผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสารสกัดเอทานอลปัญจขันธ์มีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับ ต้านการสะสมของไขมันในตับและต้านการเกิดอนุมูลอิสระอันเนื่องมาจากภาวะที่มีความเข้มข้นของกลูโคส อินซูลิน และกรดไขมันในระดับสูง คล้ายกับกระบวนการเผาผลาญในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

Phytomedicine. 2012; 19(5): 395-401