รากอัญชันต้านโรคหอบหืดและอาการแพ้ทางผิวหนัง

การศึกษาฤทธิ์ต้านโรคหอบหืด และการแพ้ทางผิวหนัง (passive cutaneous anaphylaxis) ของสารสกัดเอทานอลรากอัญชัน โดยศึกษาฤทธิ์ต้านหอบหืดด้วยการฉีดสารสกัดเอทานอลรากอัญชันให้แก่หนูเมาส์เข้าทางช่องท้อง ขนาด 100 125 และ 150 มก./กก. หลังจากนั้น 30 นาที ฉีดนมสุกที่เย็นแล้วเข้าทางใต้ผิวหนังขนาด 4 มล./กก. เพื่อกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิด leucocyte และ eosinophil ซึ่งเป็นสื่อกลาง (mediator) ของการเกิดอาการหอบหืด และทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกิดกระบวนการ degranulation ของ mast cell ด้วยการฉีดสารสกัดเอทานอลรากอัญชันให้แก่หนูเมาส์เข้าทางช่องท้อง ขนาด 100 125 และ 150 มก./กก. หลังจากนั้น 4 วัน ฉีดน้ำเกลือ (0.9% saline solution) ขนาด 10 มล./กก. เข้าทางช่องท้อง เก็บของเหลวบริเวณเยื่อบุช่องท้องมาใช้ทดสอบการเกิดกระบวนการ degranulation ของ mast cell โดยการเหนี่ยวนำด้วยโปรตีน albumin จากไข่ และการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการแพ้ทางผิวหนัง ทำการทดสอบด้วยการฉีดสารสกัดเอทานอลรากอัญชันให้แก่หนูเมาส์ ขนาด 100 125 และ 150 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง หลังจากนั้น 30 นาที ทำการฉีดสารละลายที่ผสมระหว่าง 0.5% Evan blue และ 1% egg albumin (1:1) เข้าทางเส้นเลือดดำบริเวณหาง แล้วสังเกตการแพร่ของสีบนผิวหนังหนู ผลการศึกษาพบว่า การการฉีดสารสกัดเอทานอลรากอัญชันทั้ง 3 ขนาด มีผลลดจำนวน leucocyte และ eosinophil ยับยั้งเกิดกระบวนการ degranulation ของ mast cell และการแพร่ของสีน้ำเงินบนผิวหนังของหนู ซึ่งผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสารสกัดเอทานอลรากอัญชันมีฤทธิ์ต้านโรคหอบหืด และต้านการแพ้ทางผิวหนังได้

J Ethnopharmacol 2011; 136: 374-76