การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดน้ำจากใบมะรุมในหนูเม้าส์ โดยป้อนสารสกัดน้ำ ขนาด 400 800 1,600 3,200 และ 6,400 มก./กก. หรือฉีดสารสกัดในขนาด 250 500 1,000 และ 2,000 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู พบว่าการป้อนสารสกัดทุกขนาดไม่ทำให้หนูตาย แต่มีผลลดการเคลื่อนไหวของหนู และบางตัวจะมีอาการเซื่องซึม เมื่อได้รับสารสกัดในขนาดสูง คือ 3,200 และ 6,400 มก./กก. ส่วนการฉีดสารสกัดในขนาด 1,000 และ 2,000 มก./กก. ทำให้หนูตาย 20% และ 80% ตามลำดับ และมีค่า LD50 เท่ากับ 1,585 มก./กก. สำหรับการศึกษาความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง โดยป้อนสารสกัดน้ำ ขนาด 250 500 และ 1,500 มก./กก. เป็นเวลานาน 60 วัน พบว่าสารสกัดทุกขนาดไม่ทำให้น้ำหนักตัวลดลง ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าทางโลหิตวิทยา ยูเรียและครีตินินเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ค่าเอนไซม์ในตับ serum glutamic pyruvate transferase (SGPT) และ alkaline phosphatase (ALP) ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วน serum glutamic oxaloacetic transferase (SGOT) จะลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบความเสียหายของไตและตับ แต่พบมีเลือดคั่งในเซลล์ตับเล็กน้อย สารสกัดที่ขนาด 500 และ 1,500 มก./กก. มีผลทำให้เอนไซม์ superoxide dismutase และ catalase ลดลง ระดับของ malondialdehyde เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้พบว่าสารสกัดไม่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของอสุจิและไม่ทำให้อสุจิผิดปกติ แต่ที่ขนาด 250 มก./กก. มีผลทำให้จำนวนของอสุจิลดลง สรุปได้ว่าสารสกัดน้ำจากใบมะรุมมีความปลอดภัยในการรับประทาน แต่มีข้อควรระวังหากใช้ในขนาดสูงและเป็นระยะเวลานานๆ เนื่องจากมีผลต่อไตของสัตว์ทดลองโดยทำให้ยูเรียและครีติตินในเลือดเพิ่มขึ้น
J Ethnopharmacol 2010;139:330-6.