สาร polysaccharides ส่วนที่สกัดโดยใช้น้ำ (water-extractable fraction) และส่วนที่สกัดโดยใช้ด่าง (alkali-extractable fraction) จากหญ้าต้มต๊อก (Solanum nigrum L.) ได้แก่ SNLWP และ SNLAP ตามลำดับ นำมาสกัดแยกต่อด้วยวิธี ตกตะกอนด้วยเอทานอล (ethanol precipitation), ไดอะไลซิส (Dialysis), anion-exchange และ gel filtration chromatography ได้เป็นสารย่อย 4 ชนิดคือ SNLWP-1, SNLWP-2, SNLAP-1 และ SNLAP-2 นำสารดังกล่าวมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง โดยทำการศึกษาแบบในหลอดทดลอง (in vitro) ในเซลล์มะเร็ง mouse hepatoma 22 ascitic tumor (H22) และศึกษาฤทธิ์ปรับภูมิต้านทานในสัตว์ทดลอง (in vitro) โดยป้อนสารสกัด SNLWP-1, SNLWP-2, SNLAP-1 และ SNLAP-2 ให้แก่หนูเม้าส์ที่ถูกฉีดด้วยยา cyclophosphamide (CTX) ซึ่งเป็นยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน ผลการศึกษาพบว่าการป้อนสารสกัด SNLWP-1, SNLAP-1 และ SNLAP-2 ขนาด 50 และ 100 มก./กก. ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน มีผลเพิ่มปริมาณ Interlukine-2 (IL-2) Interferon-gamma (IFN-γ) และลดปริมาณ Interleukin-10 (IL-10) ในเลือดของหนูเม้าส์ และสารสกัดทั้ง 4 ชนิด มีผลยับยั้งการเพิ่มปริมาณของเซลล์มะเร็ง H22 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารสกัด polysaccharides ที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำและด่างจากหญ้าต้มต๊อกมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดมะเร็งและปรับภูมิต้านทานได้
Food Chem. 2012; 131: 677-84.