การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร mogrosides ซึ่งสกัดได้จากหล่อฮั่งก๊วย แบบในหลอดทดลอง (in vitro ) ในเซลล์แมคโครฟาจน์ RAW 264.7 ซึ่งถูกกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบด้วยการเติม Lipopolysaccharides (LPS) แล้วจึงเติมสารสกัด mogrosides เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งการเกิดกระบวนการอักเสบของหล่อฮั่งก๊วย และในเซลล์เนื้อเยื่อจากใบหนูของหนูเมาส์โดยทำการฉีดสารสกัด mogrosides เข้าที่ใบหูหนูก่อนกระตุ้นให้เกิดอาการบวมและอักเสบด้วยการฉีด 12-o-tetradecanoylophorbol-13-acetate (TPA) วัดการแสดงออกของยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกระบวนการอักเสบด้วยวิธี RT-qPCR (Reverse transcription real-time polymerase chain reaction) และวิธี ELISA (Enzyme-linked immunosorbent assay) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัด mogrosides มีผลลดระดับการแสดงออกของยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกระบวนการอักเสบได้แก่ nitric oxide synthase (iNOS) cyclooxygenase-2 (COX-2) และ interleukine-6 (IL-6) นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่มการแสดงออกของยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการป้องกันการอักเสบได้แก่ poly ADP-ribose polymerase family number 1 (PARP1), BCL2-like 1 (BCL2l1) transformation-related protein 53/ p53 (TRP53), mitogen-activated protein kinase 9 (MAPK9) และ peroxisome proliferator activator receptor δ (PPAR δ) ซึ่งผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสารสกัด mogrosides จากหล่อฮั่งก๊วยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้
J. Agric. Food Chem. 2011; 59: 7474-81