การศึกษาเปรียบเทียบผลของสารสกัดน้ำจากใบหม่อน (MWEs) และ 1-deoxynojirimysin (DNJ: สารสำคัญในใบหม่อน มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดโดยขัดขวางการดูดซึมกลูโคสในลำไส้) ต่อการดูดซึมน้ำตาลของลำไส้เล็ก พบว่าทั้ง MWEs และ DNJ ต่างออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ α-glucosidaseได้ดี และMWEsช่วยยับยั้งการดูดซึมน้ำตาล2-deoxyglucose ในเซลล์เยื่อบุลำไส้ (Caco-2)ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการให้สาร DNJ แก่เซลล์การทดสอบในหนูแรทพบว่าเมื่อป้อน MWEsขนาด 2 ก./กก.น้ำหนักตัว(มีสาร DNJ เท่ากับ 3 มก./กก.)มีผลยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในลำไส้ได้ดีกว่าการป้อนสาร DNJ ขนาด3 มก./กก.น้ำหนักตัว และไม่พบฤทธิ์การยับยั้งนี้เมื่อป้อนร่วมกับน้ำตาลมอลโตส จึงคาดว่ากลไลการยับยั้งการดูดซึมของ MWEs เกิดจากสารพฤกษเคมีอื่นที่ไม่สามารถดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กไปแย่งกลูโคสจับกับตัวขนส่งน้ำตาล (glucose transporter)จนมีผลให้ร่างกายดูดซึมกลูโคสได้น้อยลง นอกจากนี้ยังพบว่าการป้อน MWEs ที่เวลา 30 นาที ก่อนการป้อนกลูโคสให้แก่หนูแรท ช่วยลดปริมาณน้ำตาลทั้งหมดในกระแสเลือด (Area under curve ของกลูโคส) ได้ดีกว่าการป้อนพร้อมกันอย่างมีนัยสำคัญ สอดคล้องกับผลการทดลองในเซลล์เยื่อบุลำไส้ที่พบว่าบ่มเซลล์กับMWEs ก่อนให้กลูโคส มีผลลดการดูดซึมกลูโคสได้มากกว่าจากการทดลองจะเห็นได้ว่าสารสกัดน้ำจากใบหม่อนสามารถออกฤทธิ์ลดน้ำตาลได้ดีกว่าการใช้สาร 1-deoxynojirimysinเพียงชนิดเดียว
J agric food chem 2011; 59(7): 3014-9