ฤทธิ์ต้านการอักเสบของหลอดลมในหนูเม้าส์ของสารเคอร์คิวมิน

การศึกษาผลของสารเคอร์คิวมินจากขมิ้นต่อการอักเสบของหลอดลมในหนูเม้าส์ที่แพ้สาร ovalbumin โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. หนูที่ไม่ได้รับการกระตุ้นให้แพ้สาร ovalbumin และได้รับน้ำเกลือ ซึ่งเป็นตัวทำละลายยา (SAL) 2. หนูที่ได้รับการกระตุ้นให้แพ้สาร ovalbumin และได้รับน้ำเกลือ (OVA) 3. หนูที่ได้รับการกระตุ้นให้แพ้สาร ovalbumin และได้รับสารเคอร์คิวมินด้วยการรับประทาน ขนาด 200 มก./กก. (CMP-PO) 4. หนูที่ได้รับการกระตุ้นให้แพ้สาร ovalbumin และได้รับสารเคอร์คิวมินด้วยการฉีดเข้าทางช่องท้อง ขนาด 200 มก./กก. น้ำหนักตัว (CMP-IP) โดยหนูทั้ง 4 กลุ่มจะได้รับน้ำเกลือหรือสารสกัดขนาดดังกล่าว วันละครั้ง เป็นเวลา 21 วัน พบว่า ในกลุ่ม OVA หลอดลมมีความไวมากกว่าปกติต่อการตอบสนองสิ่งกระตุ้น (airway hyper-responsiveness), มีการบวมของหลอดลม, มีการหลั่งสารเมือกมากขึ้น, มีจำนวน eosinophil เพิ่มขึ้น, มีการหลั่ง IgE มากขึ้น และมีระดับโปรตีน p65 เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงถึงการทำงานของ nuclear factor-κB (NF-κB) เมื่อเทียบกับกลุ่ม SAL ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ส่วนในกลุ่ม CMP-IP ซึ่งได้รับสารเคอร์คิวมินด้วยการฉีดเข้าทางช่องท้อง จะมีความไวที่ผิดปกติต่อการตอบสนองสิ่งกระตุ้นของหลอดลมน้อยลง, มีการบวมของหลอดลมลดลง, มีการหลั่งสารเมือกลดลง, มีจำนวน eosinophil ลดลง, มีการหลั่ง IgE ลดลง และมีระดับโปรตีน p65 ลดลง แต่หลอดลมของหนูที่รับสารเคอร์คิวมินด้วยการรับประทาน (CMP-PO) ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาในเซลล์บุถุงลมปอดและเซลล์แมโครฟาจ (macrophage) เพาะเลี้ยงที่ถูกกระตุ้นให้มีการอักเสบด้วย Lipopolysaccharide สารเคอร์คิวมินลดการอักเสบในเซลล์ทั้งสองชนิด โดยการยับยั้งการทำงานของ nuclear factor-κB (NF-κB) สรุปได้ว่า สารเคอร์คิวมินที่ให้โดยการฉีดเข้าช่องท้องมีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหลอดลม และลดความไวผิดปกติต่อการตอบสนองสิ่งกระตุ้นของหลอดลมในหนูเม้าส์ที่แพ้สาร ovalbumin ซึ่งน่าจะพัฒนาไปเป็นยารักษาโรคหอบหืดได้

J Ethhnopharmacol 2011;136:414-21