โสมลดการอักเสบของหลอดลมในหอบหืด

การศึกษาผลของสารสกัดจากโสม (Panax ginseng C.A. Meyer) ต่อหนูเม้าส์ที่ถูกเนี่ยวนำให้เป็นโรคหอบหืด โดยการฉีดโปรตีนจากไข่ขาว (Ovalbumin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เข้าทางช่องท้อง 2 ครั้ง ในวันที่ 0 และ 14 ของการทดลอง ด้วยขนาด 20 มคก. ของ Ovalbumin ที่ดูดซับอยู่ใน albumin hydroxide 1.0 มก. ในวันที่ 20-22 ของการทดลอง หนูเม้าส์จะได้รับการฉีดสารสกัดจากโสมเข้าทางช่องท้องวันละ 1 ครั้ง ขนาด 20 มก./กก. และในวันที่ 20-22 หลังจากฉีดสารสกัดจากโสม 10 นาที หนูเม้าส์จะถูกกระตุ้นให้มีอาการหอบหืดโดยได้รับ 5% Ovalbumin ทางจมูก เป็นเวลา 30 นาที ผลการศึกษาพบว่า ในหนูเม้าส์ที่แพ้สาร ovalbumin จะมี eosinophil เพิ่มขึ้น มีจำนวน goblet cell เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการหลั่งสารเมือกมากขึ้น นอกจากนี้ ในหนูกลุ่มนี้ยังพบว่ามีการแสดงออกของ CD40 และ CD40L เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงถึง TH-lymphocytes และมีการทำงานของ MAP kinase (Erk, JNK, p38) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น ได้แก่ Interleukin (IL)-1β, IL-4, IL-5 และ tumor necrosis factor alpha (TNF-α) เมื่อหนูเม้าส์ได้รับ Panax ginseng พบว่ามีจำนวน eosinophil ลดลง มีจำนวน goblet cell ลดลง ทำให้มีการหลั่งสารเมือกลดลง มีการแสดงออกของ CD40 และ CD40L ลดลง และมีการทำงานของ MAP kinase (Erk, JNK, p38) ลดลง ส่งผลให้มีการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบลดลง สรุปได้ว่า สารสกัดจากโสมมีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหลอดลมของหนูเม้าส์ที่แพ้สาร ovalbumin ซึ่งน่าจะพัฒนาไปเป็นยารักษาโรคหอบหืดได้

J Ethhnopharmacol 2011;136:230-5