การทดสอบฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหารของส่วนสกัดเอธิล อะซิเตท (Ethyl acetate fraction; AcF)ซึ่งแยกได้จากสารสกัดเมธานอลของใบครามใหญ่ (Indigoferasuffruticosa ) ในหนูแรทเพศผู้ โดยให้หนูกินAcF ขนาด 20, 25 และ 100 มก./กก เปรียบเทียบกับการได้รับยา lansoprazoleซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารขนาด 30 มก./กกหลังจากนั้น 1 ชม. จึงเหนี่ยวนำให้หนูเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยการกิน 99.5% เอธานอล 1 มล. และหลังจากนั้นอีก 1 ชม. จึงฆ่าหนูเพื่อวิเคราะห์ผล พบว่าAcF ที่ขนาด 100 มก./กก สามารถยับยั้งการถูกทำลายที่บริเวณชั้นเยื่อบุผนังของกระเพาะอาหารซึ่งเกิดจาก 99.5% เอธานอล ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบผลกับการที่หนูได้รับเพียงน้ำกระสายยา AcFไม่มีผลกับการหลั่งกรด แต่เพิ่มการสร้างprostaglandin E2 (PGE2) และสารเมือกในกระเพาอาหาร โดยที่กลไกการออกฤทธิ์ของ AcFจะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มการสร้างเซลล์(proliferating cell nuclear antigen; PCNA) และheat shock protein (HSP 70) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีผลในการปกป้องกระเพาะอาหาร
J Ethnopharmacol 2011;137(1):192-8.