การศึกษาปัจจัยสภาพภูมิอากาศของแหล่งปลูกชาและเกรดของใบชาต่อฤทธิ์น้ำตาลในเลือดของชาดำ โดยใช้ชาดำเกรด Broken Orange Pekoe Fanning (เศษใบชา) จากแหล่งปลูกที่มีความสูงต่างกันในประเทศศรีลังกา คือ High-grown (ปลูกในพื้นที่สูงมากกว่า 1,220 ม.จากระดับน้ำทะเล), Medium-grown (ปลูกในระดับความสูง 610-1,220 ม.จากระดับน้ำทะเล) และ Low-grown (ปลูกในพื้นที่ต่ำกว่า 610 ม.จากระดับน้ำทะเล) โดยป้อนชาดำที่ความเข้มข้น 60, 120 และ 480 มก./มล. ป้อนให้หนูแรทปกติ และหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวานโดย Streptozotocin ติดต่อกัน 14 วัน ผลการศึกษาพบว่าชาดำสามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ทั้งในหนูปกติและหนูที่เป็นเบาหวาน โดยจะออกฤทธิ์มากขึ้นเมื่อได้รับในความเข้มข้นที่สูงขึ้น และฤทธิ์ลดน้ำตาลนี้ไม่ขึ้นกับความสูงของแหล่งปลูกชา นอกจากนี้ยังพบว่าชาดำออกฤทธิ์ลดการดูดซึมกลูโคสที่ลำไส้เล็ก ยั้บยั้งการทำงานของ α-glucosidase และ α-amylase นอกจากนี้ชาดำยังออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ซึ่งช่วยเพิ่มความไวของอินซูลิน (insulin sensitivity) และแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบในหลอดทดลอง โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษในสัตว์ทดลองเมื่อป้อนในความเข้มข้น 480 มก./มล. ติดต่อกันนาน 50 วัน จากการศึกษานี้จะเห็นได้ว่าแหล่งปลูกใบชาและคุณภาพของใบชาไม่มีผลต่อฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของชาดำ
J Ethnopharmacol 2011; 135: 278-86