ศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระและคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant capacity) ของมะม่วงทั้งผลกับมะม่วงผ่านการตัดแต่ง (ปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า) ซึ่งเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 12 °C และ 5 °C ตามลำดับ เป็นเวลานาน 10 วัน และผลต่อการต้านอนุมูลอิสระและระดับไขมันในเลือดของอาสาสมัครที่มีระดับไขมันในเลือดปกติ ผลการทดลองพบว่ามะม่วงทั้งผลจะมีสารฟลาโวนอยด์ เบต้าแคโรทีน และวิตามินซี สูงกว่ามะม่วงที่ผ่านการตัดแต่ง แต่ปริมาณของสารฟีนอลรวมจะน้อยกว่า เมื่อทดสอบคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี oxygen radical scavenging capacity, (ORAC) และ 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) assays พบว่ามะม่วงทั้งผลจะมีค่าสูงกว่ามะม่วงที่ผ่านการตัดแต่ง เมื่อให้อาสาสมัครที่มีระดับไขมันในเลือดปกติ ซึ่งมีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 26 กก./ม2 จำนวน 30 คน อายุระหว่าง 20 - 50 ปี แบ่งออกเป็นกลุ่มที่รับประทานมะม่วงทั้งผล และกลุ่มที่รับประทานมะม่วงซึ่งผ่านการตัดแต่ง ขนาด 200 ก. ต่อวัน เป็นเวลานาน 30 วัน พบว่าในทั้ง 2 กลุ่ม ระดับไตรกลีเซอไรด์และ VLDL ในเลือดจะลดลง แต่ระดับคอเลสเตอรอลรวม HDL และ LDL ไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระในเลือดของอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม จะมีค่าสูงขึ้น เมื่อวัดด้วยวิธี trolox-equivalent antioxidant capacity test (TEAC) and ORAC สรุปได้ว่าการรับประทานมะม่วงมีผลทำให้เพิ่มคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และแม้ว่ากระบวนการตัดแต่งทำให้สารสำคัญบางอย่างลดลง แต่ไม่ทำให้คุณประโยชน์ในมะม่วงสูญเสียไป
Food Research International 2011;44:1386-91.