การศึกษาความเป็นพิษของชาผู่เอ๋อ (Pu-erh black tea)

ทดสอบความเป็นพิษของชาผู่เอ๋อทั้งแบบเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรังในหนูแรท Sprague-Dawley โดยในการศึกษาพิษแบบเฉียบพลัน ทำการทดลองกับหนูแรททั้งหมด 20 ตัว (เพศผู้ 10 ตัว, เพศเมีย 10 ตัว) ป้อนหนูทุกตัวด้วยชาผู่เอ๋อขนาด 10 ก./กก.ของน้ำหนักตัว สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางคลินิก และอัตราการตายของหนูในชั่วโมงที่ 1 2 4 8 และ 12 และทำการสังเกตหนู วันละสองครั้ง จนครบ 14 วัน ทำการวัดน้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลงไป และอัตราการกินอาหารในวันที่ 0 1 3 5 7 10 และ 14 เปรียบเทียบกับหนูในกลุ่มควบคุมซึ่งมีจำนวนและเพศเท่ากันกับกลุ่มทดลอง และในวันสุดท้ายของการทดลองทำการชำแหละผ่าซากเพื่อตรวจอวัยวะภายใน ส่วนการศึกษาพิษแบบกึ่งเรื้อรัง ทำการทดลองกับหนูแรท 4 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ตัว (เพศผู้ 10 ตัว, เพศเมีย 10 ตัว) โดยให้กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม อีกสามกลุ่มที่เหลือป้อนด้วยชาผู่เอ๋อขนาด 1,250 2,500 และ 5,000 มก./กก.ของน้ำหนักตัว/วัน ตามลำดับ เป็นเวลา 91 วัน สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางคลินิก และอัตราการตายของหนูทุกสองวัน และวัดน้ำหนักทุกสัปดาห์ ในวันสุดท้ายของการทดลองทำการชำแหละผ่าซากเพื่อตรวจอวัยวะภายใน และวิเคราะห์หาค่าเคมีในเลือด ผลการศึกษาพบว่า ไม่พบความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับหนูทดลอง และไม่มีหนูตายในศึกษาพิษแบบเฉียบพลัน และในการศึกษาแบบพิษแบบกึ่งเฉียบพลันพบว่าน้ำหนักตัวของหนู อัตราการกินอาหาร น้ำหนักอวัยวะภายใน และค่าเคมีในเลือดของหนูกลุ่มที่ป้อนด้วยชาผู่เอ๋อทั้งสามกลุ่มไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าปริมาณชาสูงสุดในการทดลองที่ป้อนหนูในการศึกษาแบบเฉียบพลัน 10 ก./กก.ของน้ำหนักตัว และแบบกึ่งเรื้อรัง 5,000 มก./กก.ของน้ำหนักตัวในการศึกษาครั้งนี้ ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง และไม่มีความเป็นพิษ

J Ethno. 2011; 134: 156-164