ผลของสารสกัดยอด้วยน้ำต่อการอักเสบของหลอดอาหารและแผลในกระเพาะอาหารในหนูแรทเมื่อเทียบกับสาร scopoletin ในลูกยอ

การศึกษาในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่หลอดอาหารด้วยการผูกที่ตำแหน่ง pylorus ของกระเพาะอาหาร และผูกช่วงระหว่าง forestomach และ corpus ของกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารอย่างเฉียบพลันด้วยเอทานอล และ seratonin และเกิดแผลในกระเพาะอาหารชนิดเรื้อรังด้วยกรดน้ำส้ม แบ่งหนูแต่ละประเภทแรทออกป็น 9 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับน้ำขนาด 5 มล./กก.ทางสายยางสู่กระเพาะอาหารส่วนต้นอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับ 1% carboxymethylcellulose ขนาด 5 มล./กก. กลุ่มที่ 3 - 5 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำของลูกยอดิบที่ทำให้เป็นผงด้วยความเย็น ขนาด 0.63, 1.25 และ 2.50 ก./กก./5มล. (ซึ่งเทียบเท่ากับสาร scopoletin 0.5, 1.0 และ1.5 มก.) ตามลำดับ กลุ่มที่ 6 - 7 เป็นกลุ่มที่ได้รับสาร scopoletin 0.5 และ1.0 มก./กก. ตามลำดับ กลุ่มที่ 8 ได้รับยาแผนปัจจุบัน ranitidine 5 มก./กก./5มล. กลุ่มที่ 9 ได้รับยาแผนปัจจุบัน lanzoprazole 1 มก./กก./5มล. ทางสายยางสู่กระเพาะอาหารส่วนต้น พบว่าสารสกัดน้ำของลูกยอดิบขนาด 0.63, 1.25 และ 2.50 ก./กก./5มล. สามารถยับยั้งการการอักเสบที่หลอดอาหารได้ 72.21, 74.45 และ 76.91% ตามลำดับ ยับยั้งการเกิดแผลที่กระเพาะอาหารชนิดเฉียบพลันที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอลได้ 79.13, 84.43 และ 86.29% ตามลำดับ รักษาแผลในกระเพาะอาหารชนิดเรื้อรังเนื่องจากกรดน้ำส้มได้ 86.52, 93.95 และ 96.35 % ตามลำดับ และสารสกัดยอดิบขนาด 1.25 ก./กก./5มล. สามารถยับยั้งการเกิดแผลที่กระเพาะอาหารชนิดเฉียบพลันที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย serotonin ได้ 82.44% ซึ่งค่าที่ได้ใกล้เคียงกับสาร scopoletin ในลูกยอ และยาแผนปัจจุบัน ranitidine และ lansoprazole ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าสารสกัดน้ำของลูกยอดิบ และสาร scopoletin มีศักยภาพในการใช้เป็นยาในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารได้ใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน ranitidine และ lansoprazole

Journal of Ethnopharmacology 2011;134:243-50.