ผลของชาเขียวต่อตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการอักเสบในคนอ้วนที่มีภาวะ metabolic syndrome

การศึกษาผลของชาเขียวต่อตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการอักเสบ (biomarkers of inflammation) ในคนอ้วนชายและหญิงที่มีภาวะ metabolic syndrome (ดัชนีมวลกาย 36.1±1.3 kg/m2) จำนวน 35 คน อายุเฉลี่ย 42.5±1.7 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับน้ำชาเขียว ขนาด 4 ถ้วยต่อวัน (ชาเขียว 1 ถ้วย มีสาร epigallocatechin gallate (EGCG), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG) และ epicatechin (EC) ประมาณ 110, 55, 45 และ 22 มก. ตามลำดับ) กลุ่มที่ได้รับสารสกัดชาเขียวที่กำจัดคาเฟอีน ขนาด 2 แคปซูลต่อวัน (สารสกัดชาเขียว 1 แคปซูล มีสาร epigallocatechin gallate (EGCG), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG) และ epicatechin (EC) ประมาณ 230, 120, 60 และ 25 มก. ตามลำดับ) และกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำเปล่า 4 ถ้วยต่อวัน ทำการศึกษาเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าน้ำชาเขียวและสารสกัดชาเขียวไม่มีผลต่อตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการอักเสบ ได้แก่ adiponectin, C-reactive protein, interleukin-6, interleukin-1β, soluble vascular cell adhesion molecule-1, soluble intercellular adhesion molecule-1, leptin และ leptin:adiponectin ratio แต่มีผลลดระดับของ amyloid alpha ในเลือด นอกจากนี้ทั้งน้ำชาเขียวและสารสกัดชาเขียวยังไม่มีผลต่อกลุ่มความผิดปกติของภาวะ metabolic syndrome เช่น เส้นรอบเอว ความดันโลหิต ไตรกลีเซอไรด์ HDL และระดับน้ำตาลในเลือด แสดงว่า การบริโภคน้ำชาเขียวหรือสารสกัดจากชาเขียวไม่มีผลต่อกลุ่มความผิดปกติของภาวะ metabolic syndrome และตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการอักเสบในคนอ้วน แต่มีผลลดระดับของสารที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ amyloid alpha ได้

Nutrition 2010;27:206-13.