การศึกษาแบบ double-blind, placebo controlled, randomized ในอาสาสมัครที่ออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อ (eccentric exercise) จนทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบบริเวณข้อศอก แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของขิงสดและขิงที่ผ่านความร้อน (heat-treated ginger) เพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ โดยการทดลองที่ 1 ให้อาสามัคร 34 คน รับประทานแคปซูลขิงสดขนาด 2 ก.เทียบกับยาหลอก นาน 11 วัน และการทดลองที่ 2 ทดสอบในอาสาสมัคร 40 คน ให้รับประทานแคปซูลขิงที่ผ่านความร้อน ขนาด 2 ก.หรือยาหลอก เป็นเวลา 11 วัน ทำการประเมินอาการปวด ปริมาณ prostaglandin E2 (PGE2) ปริมาตรต้นแขน (arm volume) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย 3 วัน จากผลการศึกษาพบว่าทั้งขิงสดและขิงที่ผ่านความร้อนสามารถบรรเทาอาการปวดหลังออกกำลังกาย 24 ชั่วโมงได้ดีกว่ายาหลอก การใช้ขิงสดและขิงที่ผ่านความร้อนสามารถลดอาการปวดได้ใกล้เคียง คือ 25% และ 23% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณ PGE2 ปริมาตรต้นแขน และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าการรับประทานขิงเป็นประจำจะช่วยบรรเทาอาการปวดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการออกกำลังกายได้ และการใช้ความร้อนไม่มีผลในเพิ่มฤทธิ์บรรเทาปวดของขิง
J Pain. 2010;11(9):894-903.