จากการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อจุลชีพระหว่างชาดำจำนวน 15 ชนิดและชาเขียวจำนวน 15 ชนิด โดยวัดฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากค่า Trolox equivqlent antioxidant capacity (TEAC) พบว่าชาเขียวและชาดำมีค่าเฉลี่ยของ TEAC เท่ากันคือ 1.43 mM หลังจากนั้นนำตัวอย่างชุดเดิมไปเก็บที่อุณหภูมิ -20 °C เป็นเวลา 1 ปี แล้วนำมาตรวจวัดค่า TAEC อีกครั้ง พบว่าค่า TAEC จากชาเขียวและชาดำกลับลดลง 85% และ 90% ตามลำดับ โดยค่า TAEC เฉลี่ยของชาเขียวมีค่า 1.9 เท่าของชาดำ นอกจากนี้เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ (Enterococcus faecalis, Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli ) จากค่า ความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) พบว่าทั้งชาเขียวและชาดำบางตัวอย่างเท่านั้นมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียยังคงอยู่เมื่อเก็บตัวอย่างไว้เป็นเวลา 1 ปี จากข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่าชาเขียวไม่ได้มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อจุลชีพดีกว่าชาประเภทอื่น ในขณะเดียวกันพบว่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อจุลชีพจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของชา
Food Research International 2010; 43: 1379-1382