การศึกษาในหนูแรทเพศผู้ 24 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมให้กินอาหารและน้ำปกติ กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีดสาร alloxan 150 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง หลังจากการฉีดสาร alloxan 24 ชม. หนูกลุ่มที่ 3 ให้ป้อนสาร flavones glycoside จากดอกลั่นทมแดงขนาด 250 มก./กก. วันละ 1 ครั้ง นาน 6 วัน กลุ่มที่ 4 ให้ป้อนยาแผนปัจจุบัน glibenclamide 10 มก./กก. วันละ 1 ครั้ง นาน 6 วัน พบว่าสาร flavones glycoside จากดอกลั่นทมแดง ไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เมื่อเปรียบเทียบกับหนูในกลุ่มที่ 2 ที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน แต่สามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ โดยไม่มีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และยังมีผลในการลดระดับยูเรีย creatinine, SGOT (serum glutamic oxaloacetic transaminase), SGPT (serum glutamic pyruvic transaminase) ในเลือดโดยได้ผลใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน glibenclamide นอกจากนี้การทดสอบในหลอดทดลองยังพบว่าสาร flavones glycoside จากดอกลั่นทมแดง สามารถลดการหลั่งสารอนุมูลอิสระได้ จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าสาร flavones glycoside จากดอกลั่นทมแดง สามารถลดการหลั่งสารอนุมูลอิสระ และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดในหนูที่เหนี่ยวนำให้แป็นเบาหวานด้วยสาร alloxan ได้
E-Journal of Chemistry 2010;7(1):1-5