โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimers disease) เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมโปรตีนอะไมลอยด์ชนิดเบต้า (β-amyloid peptide, Aβ) ซึ่งเป็นอนุพันธ์จากสารตั้งต้นของโปรตีนอะไมลอยด์ (amyloid precursor protein, APP) ซึ่งได้จากการตัดที่บริเวณของ β- และ γ-secretase ส่วน α-secretase จะสร้างโปรตีนจำพวกที่ไม่ทำให้เกิดอะไมลอยด์ (non-amyloidogenic soluble APPα, sAPPα) ดังนั้นการควบคุมกระบวนการสร้างอะไมลอยด์โปรตีน จึงใช้เป็นแนวทางในการรักษาโรคอัลไซเมอร์
จากผลวิจัยของฤทธิ์ป้องกันระบบประสาทจากสารสกัดน้ำของมะละกอสุก 2 พันธุ์ คือ พันธุ์แขกดำ และพันธุ์ฮอลแลนด์ และมะละกอดิบพันธุ์แขกดำ ต่อการปลดปล่อย sAPP จากเซลล์สมองของมนุษย์ (SH-SY5Y neuroblastoma cell) และผลต่อฤทธิ์ของ acetylcholine esterase (AChE) ในเซลล์สมอง พบว่า สารสกัดจากมะละกอสุกพันธุ์แขกดำสามารถลดการปลดปล่อย sAPP, sAPPα และ sAPPβ ได้มากที่สุด ส่วนสารสกัดจากมะละกอดิบพันธุ์แขกดำและสารสกัดจากมะละกอสุกพันธุ์ฮอลแลนด์ ก็สามารถลดการปลดปล่อย sAPP และ sAPPα ได้เช่นกัน แต่ประสิทธิภาพน้อยกว่า และผลต่อการปลอดปล่อย sAPPβ ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม สารสกัดของมะละกอสุกทั้ง 2 พันธุ์สามารถยับยั้งการทำงานของ AChE ในเซลล์สมองแบบขึ้นกับขนาดที่ให้ ในขณะที่สารสกัดจากมะละกอดิบพันธุ์แขกดำสามารถยับยั้งการทำงานของ AChE ในเซลล์สมองเมื่อให้ในขนาดความเข้มข้นสูงเท่านั้น (5มก./มล.) จากผลการวิจัยทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดน้ำของมะละกอสุกโดยเฉพาะพันธุ์แขกดำ มีฤทธิ์ในการป้องกันระบบประสาทด้วยกลไกในการยับยั้งการทำงานของ AChE และยับยั้งกระบวนการเกิด APP ซึ่งมีผลลดการสร้าง Aβ
International Conference Thai Fruits-Functional Fruits THAIFEX-World of Food Asia 2010 July 1-2 2010, Bangkok,Thailand