ผลในการรักษาหิดของเจลว่านหางจระเข้

การศึกษาผลของเจลว่านหางจระเข้ในการรักษาหิด โดยทำการทดลองเป็น 2 ระยะ คือ การทดลองระยะที่ 1 ทำในผู้ป่วย 5 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้ใหญ่ 1 คน และเด็ก 4 คน สำหรับการทดลองระยะที่ 2 ทำในผู้ป่วย 30 คน ผู้ใหญ่ 18 คน และเด็ก 12 คน เปรียบเทียบกับยา benzyl benzoate โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับเจลว่านหางจระเข้ (16 คน) และกลุ่มที่ได้รับยา benzyl benzoate (14 คน) ซึ่งความเข้มข้นของเจลว่านหางจระเข้ และยาที่ใช้ทาสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก ในการทดลองทั้ง 2 ระยะ คือ 25% และ 12.5% ตามลำดับ โดยทาเจลว่านหางจระเข้ทุกวันติดต่อกัน 3 วัน และทาซ้ำอีกใน 1 สัปดาห์ถัดมา หลังการรักษารอบแรก ผลการทดลองระยะที่ 1 พบว่าผู้ป่วยมีอาการคันลดลง ตุ่ม ผื่น ลดลงและแห้ง ส่วนผลการทดลองในระยะที่ 2 ยังมีการตรวจพบเชื้อหิดในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 1 คน และพบการติดเชื้อแบคทีเรีย 3 คน ในกลุ่มที่ใช้ยา benzyl benzoate จึงรักษาโดยให้รับประทานยา co-trimoxazole ร่วมด้วย 2 ครั้งต่อวัน นาน 1 สัปดาห์ แต่หลังจากการรักษารอบที่ 2 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในทั้ง 2 กลุ่ม อาการดีขึ้น รอยแผลของตุ่ม ผื่น จะแห้งและจางลง แต่ยังพบอาการคันในผู้ป่วยที่ได้รับยา benzyl benzoate จำนวน 3 คน และในกลุ่มที่ใช้เจลว่านหางจระเข้ จำนวน 2 คน ไม่พบอาการข้างเคียงจากการใช้เจลว่านหางจระเข้ สรุปได้ว่าเจลว่านหางจระเข้มีประสิทธิภาพดีใกล้เคียงกับยา benzyl benzoate ในการรักษาหิด

Phytother Res 2009;23:1482-4.