การทดลองทางคลินิกแบบ single blind, randomized, crossover study ในอาสาสมัครสุขภาพดีแต่มีภาวะอ้วน (body mass index ≥ 30) จำนวน 18 คน โดยให้รับประทานอาหารเช้า 3 ประเภทคือ ประเภทที่ 1 มีใยอาหารจากลูกซัด 0 ก. (อาหารควบคุม) ประเภทที่ 2 มีใยอาหารจากลูกซัด 4 ก. และประเภทที่ 3 มีใยอาหารจากลูกซัด 8 ก. พบว่าการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากลูกซัด 8 ก. ช่วยเพิ่มระยะเวลาของความรู้สึกอิ่ม ทำให้ความรู้สึกหิวและ ความอยากอาหารลดลง โดยไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด แต่ทำให้ระดับของอินซูลินในเลือดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในช่วงที่ได้รับใยอาหารจากลูกซัด 8 ก. ยังลดพลังงานที่ได้รับหลังจากการรับประทานอาหารกลางวันแบบไม่จำกัดปริมาณ (ad libitum ) ซึ่งลดลงมากกว่าช่วงที่ได้รับใยอาหารจากลูกซัด 4 ก. แต่ไม่แตกต่างกับในช่วงที่ได้รับอาหารควบคุม แม้แนวโน้มในการบริโภคอาหารจะลดลง จากผลการทดลองทำให้สามารถสรุปได้ว่า การบริโภคใยอาหารจากลูกซัดขนาด 8 ก. มีส่วนช่วยเพิ่มระยะเวลาของความรู้สึกอิ่ม และลดพลังงานที่ได้รับจากการบริโภคอาหารในมื้อกลางวัน โดยไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังรับประทานอาหาร
Phytother Res 2009;23:1543 8