สารสกัด polyphenol จากทับทิม มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส influenza A/HK (H3N2) เมื่อทดลองในเซลล์ MDCK โดยพบว่าสารสกัด polyphenol ความเข้มข้น 2.5 - 40 มคก./มล. มีผลยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้ทั้งในช่วงระหว่างไวรัสเข้าสู่เซลล์ และหลังจากเข้าสู่เซลล์แล้ว มีฤทธิ์ฆ่าไวรัสโดยพบว่าจำนวนไวรัสหลังจากเซลล์ติดเชื้อแล้วจะลดลง นอกจากนี้ยังมีผลยับยั้งการรวมตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงของไก่ที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ เมื่อทดลองในเซลล์ MDCK ที่สภาวะวัฏจักรของเซลล์รอบเดียว (single-cycle growth) พบว่าสารสกัด polyphenol มีฤทธิ์ยับยั้งการจำลองตัวของ RNA (RNA replication) ของไวรัส แต่ไม่มีผลต่อยีนส์ (ribonucleoprotein) ของไวรัสในการเข้าสู่นิวเคลียส หรือการเคลื่อนย้ายจากนิวเคลียสเข้าสู่ไซโตพลาสซึมของเซลล์ เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัสของสารสำคัญที่พบในสารสกัด polyphenol ได้แก่ กรด ellagic กรด caffeic luteolin และ punicalagin ที่ความเข้มข้น 20 ไมโครโมล, 20 ไมโครโมล, 10 ไมโครโมล และ 2.5 - 40 มคก./มล. ตามลำดับ พบว่า punicalagin มีฤทธิ์ยับยั้งการจำลองตัวของ RNA ของไวรัส และฆ่าไวรัสในเซลล์ MDCK และยับยั้งการรวมตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงของไก่ที่ติดเชื้อได้เช่นเดียวกับสารสกัด polyphenol ขณะที่สารอื่นๆ ไม่มีผล และเมื่อให้สารสกัด polyphenol ร่วมกับยา oseltamivir พบว่าสารสกัดจะเสริมฤทธิ์ของยาในการต้านเชื้อไวรัส สรุปได้ว่าสารสกัด polyphenol จากทับทิม สามารถต้านไวรัส influenza A/HK (H3N2) และมีศักยภาพในการที่จะนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อนี้ได้
Phytomedicine 2009;16:1127-36.