การศึกษาฤทธ์ต้านพิษงูแมวเซาของสารสกัดน้ำจากใบหม่อนในหนูเมาส์ โดยฉีดพิษงูแมวเซา เข้าชั้นผิวหนังขนาด 80 ไมโครกรัม ที่สามารถทำให้เลือดออกได้ในกลุ่มควบคุม และพิษงูร่วมกับสารสกัดน้ำจากใบหม่อนในอัตราส่วนต่างๆ (พิษงู:สารสกัดจากใบหม่อน 1:5, 1:10, 1:15, 1:20 และ 1:25 ตามลำดับ) ในแต่ละกลุ่มๆ ละ 5 ตัว พบว่าในกลุ่มที่ได้รับพิษงูร่วมกับสารกัดจากใบหม่อนในอัตราส่วน 1:15 สามารถต้านพิษงูแมวเซาที่ทำให้เลือดออกได้ 50% ในขณะที่อัตราส่วน 1:25 สามารถต้านพิษงูแมวเซาได้ 100% และเมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอาการบวม (พิษงู 30 ไมโครกรัม ทำให้เกิดอาการบวม) พบว่าอัตราส่วนพิษงู:สารสกัดใบหม่อน (1:30) สามารถต้านอาการบวมได้ 100% ในขณะที่อัตราส่วนพิษงู:สารสกัดใบหม่อน (1:7) และ (1:10) สามารถยับยั้งโปรตีน casein และเอนไซม์ hyaluronidase จากพิษงูได้ 100% ตามลำดับ นอกจากนี้พิษงูขนาด 1.25 มก./กก. เป็นพิษต่อกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อตาย (necrosis) ซึ่งอัตรา ส่วนพิษงู:สารสกัดใบหม่อน (1:20) สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ phospholipase A2 ในพิษงูที่ทำให้กล้ามเนื้อตายได้ 98% และเมื่อศึกษาถึงฤทธิ์การยับยั้งการแข็งตัวของเลือด (anti-proco agulant enzyme) พบว่าอัตราส่วนพิษงู:สารสกัดใบหม่อน (1:20) สามารถเพิ่มระยะเวลาในการแข็งตัวของเลือดได้ 4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับพิษงูอย่างเดียว จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าสารสกัดน้ำใบหม่อนมีศักยภาพในการต้านพิษงูแมวเซาได้ทั้งพิษเฉพาะที่และต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย
Phytotherapy Research 2009;23:1082-1087.