การทดสอบฤทธิ์ในการควบคุม lipid peroxidation ในเนื้อเยื่อ หน้าที่ของ thyroid การเผาผลาญไขมันและน้ำตาลกลูโคสในหนูแรทพบว่า สารสกัดเมทานอลจากเปลือกของมะม่วง แตงไทย และแตงโม ขนาด 200, 100 และ 100 มก./กก. เมื่อให้หนูแรทกินเป็นเวลา 10 วัน มีผลยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ในเนื้อเยื่อตับ ไต และหัวใจ เพิ่มระดับของ triiodothyronine (T3) และ thyroxin (T4) ในเลือด และเมื่อให้สารสกัดทั้ง 3 ร่วมการยา propylthiouracil (PTU) ซึ่งเป็นยาที่มีผลทำให้เกิดภาวะ hypothyroid ก็มีผลเพิ่มระดับของ T3 และ T4 เช่นกัน นอกจากนี้พบว่า สารสกัดจากเปลือกแตงโม มีผลในการลดระดับของ cholesterol และ low-density lipoprotein-cholesterol (LDL-C) ในขณะที่สารสกัดจากเปลือกแตงไทย มีผลลด triglycerides และ very low-density lipoprotein-cholesterol (VLDL-C) และผลของการผสมสารสกัดเปลือกมะม่วง + สารสกัดเปลือกแตงไทย และการผสมทั้ง 3 สารสกัด พบว่าทำให้ระดับของ T3 เพิ่มขึ้น ในขณะที่ระดับของ T4 เพิ่มขึ้นเฉพาะในสารสกัดเปลือกมะม่วง + สารสกัดเปลือกแตงไทย และเมื่อทดสอบผลของการผสมดังกล่าวร่วมกับการให้ยา PTU พบว่าการผสมดังกล่าว มีฤทธิ์เพิ่มระดับ T4 และไม่มีผลเพิ่มระดับ T3 แต่การผสมลักษณะนี้มีผลทำให้ lipid peroxidation ในตับและไตเพิ่มขึ้น ดังนั้นไม่ควรใช้สารสกัดทั้ง 3 ร่วมกัน จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าสารสกัดเมทานอลจากเปลือกของมะม่วง แตงไทย และแตงโม มีผลกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ในระดับเนื้อเยื่อได้ เมื่อใช้แยกกัน
Chemico-Biological Interactions 2009;177(3):254-8