ประโยชน์ของชาต่อการต้านเซลล์มะเร็งเต้านม (Human breast cancer MCF-7 cell)

ชาเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะในชามีสารประกอบโพลีฟีนอลชื่อว่า catechins ที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การทดลองเปรียบเทียบปริมาณสาร catechins และ caffeine ในชา 6 สายพันธุ์ ได้แก่ Camellia japonica, Camellia tenuifloria, Camellia oleifera, Camellias  และ Camellia sinensis  พบว่าในชาทั้ง 6 สายพันธุ์มีปริมาณ caffeine น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณ catechins โดยพบว่า C. sinensis  มีปริมาณ caffeine สูงที่สุด (18.74 มิลลิกรัม/กรัม) และ C. sinensis  ยังพบสาร (+)-catechin และ (-)-epicatechin ซึ่งไม่พบในชาอีก 5 สายพันธุ์ที่เหลือ เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเต้านม พบว่า C. sinensis  มีความสามารถสูงสุดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และเพิ่มมากขึ้นเมื่อใช้ในความเข้มข้นที่สูงขึ้น นอกจากนี้พบว่า C. tenuifloria  ที่พบปริมาณ catechins น้อยที่สุด (2.63 มิลลิกรัม/กรัม) แต่มีความสามารถในการต้านเซลล์มะเร็งได้รองลงมา โดยสามารถชักนำให้เกิดเซลล์ตายได้สูงสุด จึงอาจเป็นไปได้ว่าอาจมีสารชนิดอื่นในชานอกเหนือจาก catechins ที่มีฤทธิ์ชักนำให้เกิดการตายของเซลล์

Food Chemistry 2009, 114: 1231-6