สาร bisdemethoxycurcumin และ curcumin จากขมิ้น ความเข้มข้น 3, 10 และ 30 ไมโครโมล มีผลยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ เอนไซม์ inducible nitric oxide synthase (iNOS) และลดการแสดงออกของยีน iNOS mRNA ในเซลล์ macrophage RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide สาร curcumin มีผลยับยั้ง tumor necrosis factor-alpha (TNF-α) และลดการแสดงออกของยีน TNF-α mRNA ขณะที่ bisdemethoxycurcumin ไม่มีผล สำหรับการทดลองในสัตว์ทดลอง พบว่าเมื่อให้สาร bisdemethoxycurcumin ขนาด 5-80 มก./กก โดยตรงทางลำไส้เล็กของหนูแรท มีผลลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยการผูกกระเพาะได้ ขณะที่ curcumin ขนาด 5-20 มก./กก. จะไม่มีผล เมื่อป้อนสารทั้ง 2 ขนาด 20-80 มก./กก. แก่หนูแรท วันละ 2 ครั้ง นาน 10 วัน พบว่าสามารถลดการเกิดแผลและกระตุ้นการสร้างเยื่อเมือกในกระเพาะอาหารของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลด้วยกรดอะซีติกได้ สารทั้ง 2 ที่ขนาด 40 และ 80 มก./กก. มีผลลดการแสดงออกของ ของยีน iNOS mRNA และ curcumin มีผลลดการแสดงออกของยีน TNF-α mRNA ขณะที่ bisdemethoxycurcumin ไม่มีผล สรุปได้ว่า bisdemethoxycurcumin และ curcumin มีฤทธิ์ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยเป็นผลมาจากการลดการหลั่งกรด เพิ่มการสร้างเยื่อเมือก และลดการอักเสบของสาร
Phytomedicine 2009;16:342-5.