ฤทธ์ต้านชักของน้ำมันจันทน์เทศ

การศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันจันทน์เทศในการต้านการชักที่เหนี่ยวนำโดยสารเคมีและไฟฟ้าในหนูเมาส์ โดยแบบการทดลอง (model) ที่ใช้เหนี่ยวนำให้หนูชัก คือ การฉีด pentylenetetrazole (PTZ) ขนาด 100 มก./กก. เข้าใต้ผิวหนัง การเหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้า (maximal electroshock seizure) ขนาด 50 มิลลิแอมแปร์ ความถี่ 60 เฮิร์ท เป็นเวลา 0.2 วินาที หรือการฉีด strychnine ขนาด 1.2 มก./กก. และ bicuculline ขนาด 2.7 มก./กก. เข้าใต้ผิวหนังของหนู พบว่าแบบการทดลองที่เหนี่ยวนำด้วย PTZ, strychnine และ bicuculline การฉีดน้ำมันจันทน์เทศ ขนาด 100, 200 และ 300 มคล./กก. เข้าทางช่องท้อง 5 นาที ก่อนการเหนี่ยวนำให้หนูชัก มีผลต้านการชักได้ และในแบบการทดลองที่เหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้า น้ำมันจันทน์เทศ ขนาด 50, 100 และ 200 มคล./กก. มีผลต้านการชักได้เช่นเดียวกัน โดยขนาด 200 มคล./กก. จะให้ผลดีที่สุด สำหรับการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าน้ำมันจันทน์เทศที่ขนาดสูงถึง 600 มคล./กก. ไม่เป็นพิษต่อระบบประสาทของหนู ขนาดของสารที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง (LD50) และขนาดของสารที่ทำให้หนูจำนวนครึ่งหนึ่งหลับ (HD50) เท่ากับ 2,150 และ 1,265 มคล./กก. ตามลำดับ

Phytother Res 2009;23:153-8