การศีกษาฤทธิ์ของสารสกัด procyanidins (GSP) , gypenosides (GPE) จากเมล็ดองุ่น และ procyanidins ร่วมกับ gypenosides ต่อภาวะดื้ออินซูลินในหนูเม้าส์และเซลล์ HepG2 โดยแบ่งการทดลองเป็น 6 กลุ่ม, 2 กลุ่มควบคุม และ 4 กลุ่มการทดลอง กลุ่มควบคุมที่ 1 และ 2 ให้กินอาหารปกติและอาหารที่มีไขมันสูง ตามลำดับ สำหรับกลุ่มทดลองที่ 3, 4, 5 และ 6 ให้กินอาหารที่มีไขมันสูง ป้อนสารสกัด GSP (GSP80), GPE (GPE80), GSP + GPE (1:1) (GSP40+ GPE40) ขนาด 80 มก./น้ำหนักตัว1กก.ในกลุ่มที่ 3 (GSP80), 4 (GPE80) และ 5 (GSP40+GPE40) ตามลำดับ และป้อนสาร metformin ขนาด 500 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. ให้กลุ่มที่ 6 เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2-6 ได้รับน้ำตาลฟลุคโตส เข้มข้น 15% เพิ่มลงในน้ำดื่มตลอดระยะเวลาการทดลอง พบว่าสารสกัด GSP80 สามารถลดภาวะดื้ออินซูลินได้อย่างมีนัยสำคัญ และเพิ่มความเข้มข้นไกลโคเจนในตับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ 2 นอกจากนี้สารสกัด GSP และ GPE เมื่อให้ร่วมกันจะออกฤทธิ์ร่วมกันในการลดภาวะดื้ออินซูลิน ลดระดับคอเลสเตอรอลรวมในเซรัมและสามารถเพิ่มการลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ในการทำ glucose tolerance ในทุกกลุ่มทดลองที่ได้รับสารสกัดมีการเพิ่มของเอนไซม์ glucokinase ในตับ การทดสอบผลของสารสกัด GSP ในเซลล์ HepG2 ซึ่งทำให้ดื้อต่ออินซูลิน โดยการเลี้ยงในอินซูลินความเข้มข้น 5×10-7 โมล/ลิตร เป็นเวลา 24 ชม. พบว่าสารสกัด GSP เพิ่มการใช้น้ำตาลจากภายนอกเซลล์ของเซลล์ HepG2 ซึ่งแสดงว่า GSP สามารถลดภาวะดื้ออินซูลินของเซลล์ HepG2ได้
สรุปได้ว่าการรวมกันของสารสกัด GSP และ GPE จากเมล็ดองุ่นมีผลต่อผู้บริโภคที่มีภาวะดื้ออินซูลิน
Journal of Food Science vol.74, Nr.1 2009 (H1-H7)