การศึกษาแบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ใช้หนูเม้าส์เพศผู้ 85 ตัว แบ่งหนูออกเป็น 8 กลุ่ม โดยหนูจะได้รับสาร azoxymethane (AOM) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ส่วน colon ขนาด 10 มก./กก. น้ำหนักตัว ฉีดเข้าทางช่องท้อง หลังจากนั้น 7 วัน ให้กินน้ำที่มีส่วนผสมของ dextran sulphate sodium (DSS) 1.5% (w/v) นาน 7 วัน หลังจากนั้นอีก 7 วัน ให้กินอาหารที่มีส่วนผสมของสาร zerumbone จากเหง้ากระทือ นาน 17 สัปดาห์ ซึ่งกลุ่มที่ 1 (20 ตัว) ได้รับสาร azoxymethane (AOM) ร่วมกับให้กินน้ำที่มีส่วนผสมของ DSS 1.5% (w/v) กลุ่มที่ 2 - 4 (กลุ่มละ 15 ตัว) เป็นกลุ่มที่ได้รับสาร AOM ร่วมกับการให้กินน้ำที่มีส่วนผสม DSS 1.5% (w/v) และได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของสาร zerumbone ขนาด 100, 250 และ 500 ppm ตามลำดับ กลุ่มที่ 5 (5 ตัว) ได้รับน้ำที่มีส่วนผสมของ DSS 1.5% (w/v) ร่วมกับอาหารที่มีส่วนผสมของสาร zerumbone ขนาด 500 ppm กลุ่มที่ 6 (5 ตัว) ได้รับน้ำที่มีส่วนผสมของ DSS 1.5% (w/v) เพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 7 (5 ตัว) ได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของสาร zerumbone ขนาด 500 ppm เพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 8 เป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับอะไรเลย การทดลองที่ 2 ใช้หนูเม้าส์เพศเมีย 50 ตัว แบ่งหนูออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (10 ตัว) ได้รับสาร 4-(N -methyl-N -nitrosamino) -1-(3-pyridyl)-1-butanone (NNK) ขนาด 10 ไมโครโมล/หนู 1 ตัว ฉีดเข้าทางช่องท้อง เหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งที่ปอด กลุ่มที่ 2 - 4 (กลุ่มละ 10 ตัว) ได้รับสาร NNK หลังจากนั้น 7 วัน ให้กินอาหารที่มีส่วนผสมของสาร zerumbone ขนาด 100, 250 และ 500 ppm ตามลำดับ นาน 21 สัปดาห์ กลุ่มที่ 5 ได้รับสาร zerumbone ขนาด 500 ppm เพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 6 เป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับอะไรเลย พบว่าในการทดลองที่ 1 กลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของสาร zerumbone ขนาด 100, 250 และ 500 ppm สามารถลดการอักเสบ และยับยั้งการเกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ 1 ที่ไม่ได้รับสาร zerumbone ซึ่งขนาดที่ให้ผลดีที่สุดคือ 500 ppm ในขณะที่การทดลองที่ 2 กลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของสาร zerumbone ขนาด 250 และ 500 ppm สามารถยับยั้งการเกิดมะเร็งที่ปอดได้ จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าสาร zerumbone สามารถยับยั้งการเกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ และปอดได้ โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็ง เหนี่ยวนำให้มีการตายแบบอะพอพโทซิส (apopotosis) และกดการทำงานของโปรตีน Nuclear Factor (NF) Kappa B ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบ
Int J Cancer 2009;124:264-271