การศึกษาทางคลินิกแบบ four-way ได้แก่ crossover, randomized, placebo-controlled และ double-blind ในคนเพศชายน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ อายุเฉลี่ย 23.7 ± 2.6 ปี จำนวน 12 คน ทำการแบ่งการศึกษาเป็น 4 ครั้ง โดยให้กินยาเม็ดสารสกัดชาเขียวขนาด 500 มิลลิกรัม ให้กินยาเม็ดกรดอะมิโนไทโรซีนขนาด 400 มิลลิกรัม ให้กินยาเม็ดคาเฟอีนขนาด 500 มิลลิกรัม หรือให้กินยาหลอก และเว้นระยะเวลามากกว่า 3 วันสำหรับรับประทานแต่ละอย่าง ทำการวัดค่าการให้ความร้อนแบบเฉียบพลัน, วัดความดันเลือด, อัตราการเต้นหัวใจ และการตอบสนองโดยการสร้างพลังงานความร้อนเป็นเวลา 4 ชั่วโมง หลังการกินยาแต่ละชนิด พบว่าการกินคาเฟอีนกระตุ้นให้เกิดความร้อนสูงกว่าค่าพื้นฐาน 6 % (ค่าเฉลี่ย 72 ± 25 กิโลจูล / 4 ชั่วโมง) เมื่อเปรียบเทียบกับการกินยาหลอก สารสกัดชาเขียวและกรดอะมิโนไทโรซีนกระตุ้นให้เกิดความร้อนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับการกินยาหลอก กรดอะมิโนไทโรซีนเพิ่ม respiratory quotient (จำนวน CO2 ที่หายใจออกแล้วหารด้วย O2 ที่หายใจเข้า 4 ชั่วโมง ขึ้น 1 % เมื่อเปรียบเทียบกับการกินยาหลอก สำหรับการได้รับอาหารเมื่อคิดเป็นพลังงาน (energy intake) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในการกินแต่ละอย่าง แต่การกินสารสกัดชาเขียวทำให้ลดลง 8% (ค่าเฉลี่ย -403 ± 183 กิโลจูล) กรดอะมิโนไทโรซีนทำให้ลดลง 8% (ค่าเฉลี่ย -400 ± 335 กิโลจูล) และคาเฟอีนทำให้ลดลง 3% (ค่าเฉลี่ย -151 ± 377 กิโลจูล) เมื่อเปรียบเทียบกับการกินยาหลอก และการกินยาทุกชนิดมีค่าความดันโลหิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
สรุปได้ว่ามีเพียงคาเฟอีนเท่านั้นที่มีผลต่อการให้พลังงานความร้อนและไม่มีผลข้างเคียงต่อความดันโลหิต
European Journal of Clinical Nutrition (2009) 63, 57-64