ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อระดับอนุมูลอิสระในระบบทางเดินอาหาร

การทดลองให้หนูถีบจักรกินอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนจากนม (casein) หรือโปรตีนจากถั่วเหลืองในขนาดปกติ (200 ก./อาหาร 1 กก.) ในขนาดสูง (600 ก./อาหาร 1 กก.) และในขนาดสูง ผสมกับสาร cysteamine ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง (600 + 0.06 ก./อาหาร 1 กก.) พบว่าในหนูที่ได้รับอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนขนาดสูง ทั้งโปรตีนจากนม หรือโปรตีนจากถั่วเหลือง มีระดับของ superoxide anion และ malondialdehyde (MDA) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ระดับของเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระ เช่น superoxide dismutase (SOD), glutathione peroxidase (GSH-Px), catalase (CAT), Na+/K+-ATPase และปริมาณของ reduced glutathione (GSH) ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนในขนาดปกติ ซึ่งการทำหน้าที่ที่ลดลงของระบบต้านอนุมูลอิสระดังกล่าวนี้ เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของกรดอะมิโน เนื่องจากการได้รับอาหารโปรตีนที่มากขึ้น ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลของการสร้างอนุมูลอิสระ และกลไกการป้องกันตัวของสิ่งมีชีวิต แต่ทั้งนี้พบว่า หนูถีบจักรกลุ่มที่ได้รับอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนจากถั่วเหลือง มีการเปลี่ยนแปลงของ superoxide anion, MDA, SOD, GSH-Px, CAT, Na+/K+-ATPase และ GSH น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีนจากนม แสดงให้เห็นว่าการบริโภคอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลืองมีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น มากกว่าการบริโภคอาหารที่มีโปรตีนจากนม และโดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับสาร cysteamine ร่วมด้วย การเปลี่ยนแปลงของระดับเอนไซม์ และสารต่างๆ จะน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารดังกล่าว เนื่องจากสาร cysteamine มีส่วนช่วยในการกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น

International Journal Of Molecular Sciences 2008;9(4):464-75