การศึกษาแบบ cohort study ในผู้ที่มีสุขภาพดีทั้งเพศชาย และหญิง จำนวน 10,555 คน อายุระหว่าง 50-64 ปี เป็นเวลา 2 ปี จากการสัมภาษณ์ พบว่า 9,140 คน (86.6%) ดื่มกาแฟ 1 ถ้วย หรือมากกว่า 1 ถ้วย/วัน และในจำนวนผู้ที่ดื่มกาแฟพบว่า 8,726 คน (94.4%) ดื่มกาแฟที่เป็นแบบ filtered coffee และ 798 คน (8.6%) ดื่มกาแฟต้ม ซึ่งผู้ชายจะดื่มกาแฟมากกว่าผู้หญิง หลังสิ้นสุดการศึกษาพบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้ว/วัน ระดับความเข้มข้นของโฟเลต (folate), riboflavin (Vitamin B2) และ pyridoxal phosphate (PLP หรือ vitamin B6) ในกระแสเลือดมีค่าลดลง 11.7%, 5.5% และ 14.1% ตามลำดับ ยกเว้น cobalamin (Vitamin B12) ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่การดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้ว/วัน จะมีผลทำให้ระดับความเข้มข้นของ homocysteine ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น 6.8% ซึ่งสาร homosysteine เป็นกรดอะมิโน ซึ่งหากร่างกายมีปริมาณสูงขึ้นมากผิดปกติ จะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจเพราะ homocysteine จะทำให้หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เลือดแข็งตัวง่าย ดังนั้นจากการศึกษาสรุปได้ว่าการดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้ว/วัน มีผลทำให้ระดับของวิตามิน B2, B12 และโฟเลตในเลือดลดลง และทำให้ homocysteine สูงขึ้น จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ซึ่งปริมาณของวิตามิน B ที่ลดลง อาจเนื่องมาจากการขับถ่ายออกทางปัสสาวะ ซึ่งต้องมีการศึกษาต่อไป
Clinical Chemistry 2008;54(9):1489-96